1. สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ถาวร
2. เป็นสถานที่จำหน่ายที่มีสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานวางจำหน่ายไม่น้อยกว่า 20 รายการ
3. มีเจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสินค้าเกษตรอินทรีย์
4. สินค้าอินทรีย์ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
4.1 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย (มกษ.9000)
4.2 มาตรฐานระหว่างประเทศ (เช่น Codex, IFOAM)
4.3 มาตรฐานกลุ่มประเทศหรือมาตรฐานประเทศ (เช่น สหภาพยุโรป อาเซียน สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น)
4.4 ได้รับการรับรองตามระบบ PGS (ภายใต้เงื่อนไขที่ มกอช. กำหนดสำหรับการเข้าร่วมโครงการ)
5. การจัดเรียงสินค้าจะต้องแยกออกจากสินค้าที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับสินค้าที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์
โครงการสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน เป็นโครงการที่ มกอช. ดำเนินการเพื่อการส่งเสริมสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั้งมาตรฐานระดับประเทศ (Organic Thailand) และมาตรฐานที่เทียบเท่ากับมาตรฐานระดับประเทศ เช่น IFOAM สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น รวมถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ PGS ให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อและสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าอินทรีย์ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงเกษตรฯ เนื่องจากพบว่าในปัจจุบันมีสินค้าที่แสดงเครื่องหมายว่าเป็นสินค้าอินทรีย์ในท้องตลาดจำนวนมากแต่ไม่มีใครทราบว่าสินค้าอินทรีย์ดังกล่าวเป็นสินค้าอินทรีย์ที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์จริง มีการรับรองจริง หรือมาจากการผลิตแบบปกติแต่แอบอ้างติดฉลากอินทรีย์
1. สถานที่จำหน่ายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรฐาน การผลิต และการแสดงฉลาก เกษตรอินทรีย์มากขึ้น
2. ผู้บริโภคได้มีช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรอง
1. ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 11 แห่ง รวม 434 สาขา โดยสินค้าอินทรีย์นั้นเป็นสินค้าที่มาจากแปลงเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง มีการแสดงฉลากที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักการเกษตรอินทรีย์ ได้แก่
สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ | จำนวนสาขา ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ |
---|---|
1. เดอะมอลล์ กรุ๊ป | 6 |
2. แดรี่โฮม ออร์แกนิค เอ้าท์เลท | 1 |
3. เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (ท็อปส์ มาร์เก็ต) | 239 |
4. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ | 20 |
5. สังคมสุขภาพ (เลมอนฟาร์ม) | 16 |
6. สยามแม็คโคร | 126 |
7. ตันตราภัณฑ์ซุปเปอร์มาร์เก็ต (ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต) | 8 |
8. ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต | 15 |
9. จริงใจ Famers Market เชียงใหม่ | 1 |
10. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โซนสินค้าเกษตรอินทรีย์ | 1 |
11. ตลาดเขียวยโสธร | 1 |
รวม | 434 |
2. สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์จากสถานที่จำหน่ายฯ ที่ยื่นขอการรับรอง จำนวน 210 ตัวอย่าง แบ่งเป็น พืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวน 190 ตัวอย่าง สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 18 ตัวอย่าง และสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างและปริมาณยาสัตว์ตกค้าง เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต สถานที่จำหน่าย และผู้บริโภค ทำให้สามารถเลือกซื้อและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ที่มีมาตรฐานและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย
1. มีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 18 แห่ง รวม 502 สาขา ได้แก่
สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ | จำนวนสาขา ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ |
---|---|
1. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด | 6 |
2. บริษัท แดรี่โฮม ออร์แกนิค เอ้าท์เลท | 1 |
3. บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (ท็อปส์) | 278 |
4. บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) | 25 |
5. บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด (เลมอนฟาร์ม) | 17 |
6. บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) | 137 |
7. บริษัท ตันตราภัณฑ์ซุปเปอร์มาร์เก็ต (1994) จำกัด (ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต) | 8 |
8. บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด | 20 |
9. จริงใจ Famers Market เชียงใหม่ | 1 |
10. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โซนตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ | 1 |
11. กลุ่มข้าวคุณธรรม ตลาดเขียวยโสธร | 1 |
12. ร้านสุดคุ้ม ออร์แกนิค ฟู้ด | 1 |
13. บริษัท กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จำกัด | 1 |
14. ร้านล้านปันสุข | 1 |
15. Q-shop Farm Outlet ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน และอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
1 |
16. ร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอ้าท์เล็ท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร | 1 |
17. ร้านภูรี ออร์แกนิค มาร์เก็ต | 1 |
18. Amazone Organic Farm Outlet | 1 |
รวม | 502 |
2. สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์จากสถานที่จำหน่ายฯ ที่ยื่นขอการรับรอง จำนวน 80 ตัวอย่าง แบ่งเป็น พืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวน 70 ตัวอย่าง สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 ตัวอย่าง และสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างและปริมาณยาสัตว์ตกค้าง เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต สถานที่จำหน่าย และผู้บริโภค ทำให้สามารถเลือกซื้อและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ที่มีมาตรฐานและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย รายละเอียดสาขาที่ได้รับการรับรองภายใต้โครงการสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน ปี 2565
1. มีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 17 แห่ง รวม 416 สาขา ได้แก่
สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ | จำนวนสาขา ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ |
---|---|
1. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด | 7 |
2. บริษัท แดรี่โฮม ออร์แกนิค เอ้าท์เลท | 1 |
3. บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (ท็อปส์) | 165 |
4. บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) | 42 |
5. บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด (เลมอนฟาร์ม) | 16 |
6. บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) | 146 |
7. บริษัท ตันตราภัณฑ์ซุปเปอร์มาร์เก็ต (1994) จำกัด (ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต) | 7 |
8. บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด | 23 |
9. จริงใจ Famers Market เชียงใหม่ | 1 |
10. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โซนตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ | 1 |
11. กลุ่มข้าวคุณธรรม ตลาดเขียวยโสธร จังหวัดยโสธร | 1 |
12. ร้านสุดคุ้ม ออร์แกนิค ฟู้ด จังหวัดยโสธร | 1 |
13. บริษัท กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จำกัด จังหวัดลพบุรี | 1 |
14. ร้านล้านปันสุข จังหวัดสุพรรณบุรี | 1 |
15. Q-shop Farm Outlet ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ | 1 |
16. ร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอ้าท์เล็ท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร | 1 |
17. ตลาดเกษตรอินทรีย์วิถีหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | 1 |
รวม | 416 |
2. สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์จากสถานที่จำหน่ายฯ ที่ยื่นขอการรับรอง จำนวน 35 ตัวอย่าง แบ่งเป็น พืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวน 30 ตัวอย่าง สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ตัวอย่าง และสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างและปริมาณยาสัตว์ตกค้าง เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต สถานที่จำหน่าย และผู้บริโภค ทำให้สามารถเลือกซื้อและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ที่มีมาตรฐานและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย