พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ.2540 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ต้องดำเนินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้ประชาชนได้รับทราบใน 3 รูปแบบหรือ 3 วิธีการดังนี้
1. การนำข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กฏหมายกำหนดไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 7
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 7 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา คือ
(1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินการ
(2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
(3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
(4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบแบบแผนนโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด
ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งให้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร
2. การจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (ศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ)
มาตรา 9
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 ของกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด (ประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู) ได้แก่ ต้องจัดให้มีสถานที่หรือศูนย์ข้อมูลข่าวสารและข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้โดยสะดวก ต้องจัดทำดัชนีหรือรายการข้อมูลข่าวสารที่มีรายละเอียดเพียงพอสำหรับประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเอง ฯลฯ ในการจัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูนี้ กฎหมายได้กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิขอสำเนา (copy right) หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรวบรวมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (public inspection) อย่างน้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนดได้แก่
(1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชนรวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
(2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 (4)
(3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
(4) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
(5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา 7 วรรคสอง
(6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
(7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
(8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 อยู่ด้วยให้ลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประกาศอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น
บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรบรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้ ในการนี้ให้คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ประกอบด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
3. การเปิดเผยหรือการจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการให้กับประชาชนที่ขอข้อมูลข่าวสารเป็นเฉพาะราย
มาตรา 11
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนตามที่ขอโดยกำหนดเป็นหลักปฏิบัติว่า ถ้ามีผู้มาขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมาก หรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ข้อมูลข่าวสารของราชการใดมีสภาพที่อาจบุบสลายง่าย หน่วยงานของรัฐจะขอขยายเวลาในการจัดหาให้หรือจะจัดทำสำเนาให้ในสภาพอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสารนั้นก็ได้
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่พร้อมจะให้ได้ มิใช่เป็นการต้องไปจัดทำวิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ เว้นแต่เป็นการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าและเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้นหรือเป็นเรื่อที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้
บัญญัติวรรคสามไม่เป็นการห้ามหน่วยงานของรัฐที่จะจัดให้มีข้อมูลข่าวารของราชการใดขึ้นใหม่ให้แก่ผู้ร้องขอหากเป็นการสอดคล้องด้วยอำนาจหน้าที่ตามปกติของหน่วยงานของรัฐนั้นอยู่แล้ว
ให้นำความในมาตรา 9 วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การจัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามมาตรานี้ โดยอนุโลม
มาตรา 23 หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
3) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้
(ก) ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว
(ข) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
(ค) ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
(ง) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
(จ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ฉ) แหล่งที่มาของข้อมูล
สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
สิทธิการรับรู้หรือรับทราบข้อมูลข่าวสารของราชการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 |
|
|
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 58 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล หรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสีย อันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" |
หลักการและเหตุผลของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ |
|
|
ในระบอบประชาธิปไตย การให้ประชาชนมี โอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆของรัฐ เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูก ต้องกับความจริงอันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนมากยิ่ง ขึ้นสมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอัน ไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัดและจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะ เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้มั่นคงและจะยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนประการหนึ่งกับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อม อีกประการหนึ่ง |
ประเภทข้อมูลข่าวสารของราชการ |
|
|
"ข้อมูลข่าวสาร" หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือสิ่งใดๆไม่ว่าการสื่อความหมายนั้น จะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆและไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่ายฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ |
หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ |
|
|
"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบอาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง |
สิทธิของประชาชนหรือเอกชน |
|
|
พ.ร.บ. นี้ได้กำหนดสิทธิของประชาชนหรือเอกชนดังนี้ |
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ |
|
|
สำนัก คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานธุรการและวิชาการให้แก่คณะกรรมการข้อมูล ข่าวสารของราชการและคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับ หน่วยงานของรัฐและให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ |
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ |
|
|
7.1 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วยรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลางโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนัก งบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกเก้าคนเป็นกรรมการ |
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร |
|
|
8.1 ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆ ตามความเหมาะสมซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 หรือ คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25 |
บทกำหนดโทษ |
|
|
9.1 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการที่สั่งตามมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน ห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 40) |
บทเฉพาะกาล |
|
|
10.1 บทบัญญัติมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ |
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายรองรับ "สิทธิได้รู้" ของประชาชน โดยกำหนดสิทธิข้อมูลข่าวสารของราชการ และกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อรองรับและคุ้มครองสิทธิของประชาชนไปพร้อมกัน โดยมีแนวคิดหลักการเพื่อ
1. ให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ โดยกำหนดข้อยกเว้นให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปอย่างโปร่งใส อันเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสังคมประชาธิปไตย
2. รองรับสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในครอบครองของหน่วยงานรัฐ ได้แก่
- สิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐนำลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
- สิทธิในการตรวจดูข้อมูล
- สิทธิในการขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกจากข้อมูลที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา หรือจัดไว้ให้ประชาชนได้ตรวจดู
- สิทธิในการขอรับสำเนาหรือขอให้รับรองสำเนาถูกต้อง
- สิทธิในการขอดูหรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนจากหน่วยงานของรัฐ
- สิทธิการคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของตนภายในเวลาที่กำหนด
- สิทธิในการร้องเรียน
- สิทธิในการอุทธรณ์
3. ข้อมูลข่าวสารของราชการเกือบทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ จะต้องสามารถเปิดเผยได้ ภายใต้หลักการที่ว่า"เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น" โดยยกเว้นจะมีได้เฉพาะในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดว่าไม่ต้องเปิดเผยเท่านั้น
วิธีการปฏิบัติในการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ.2540 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ต้องดำเนินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้ประชาชนได้รับทราบใน 3 รูปแบบหรือ 3 วิธีการดังนี้
1. ประเภทของข้อมูล
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้จัดประเภทของข้อมูลไว้ ดังนี้
(1.1) ข้อมูลที่จัดไว้ให้ตรวจดู เป็นข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้เป็นแฟ้มเอกสารพร้อมให้ตรวจดูได้ทันที
(1.2) ข้อมูลที่จัดเตรียมให้เมื่อร้องขอ คือ ข้อมูลที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้ตรวจดู ตามข้อ 1.1 หรือมีการจัดเก็บไว้ในรูปแบบอื่น ต้องใช้เวลาในการจัดเตรียม
(1.3) ข้อมูลที่ห้ามเปิดเผย ได้แก่ ข้อมูลตามมาตรา 14 แห่ง และ มาตรา 15 แห่ง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
2. เงื่อนไขการให้บริการ
(2.1) ข้อมูลข่าวสารที่ขอตรวจค้น ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วเท่านั้น มิใช่เป็นการต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดทำให้มีขึ้นใหม่
(2.2) การจัดทำสำเนาข้อมูลข่าวสารจะจัดทำสำเนาให้ 1 ชุด ต่อ 1 ข้อมูลข่าวสาร
(2.3) เจ้าหน้าที่อาจงดให้บริการ กรณีที่มีการขอข้อมูลข่าวสารนั้น ๆ ซ้ำ หรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
3. ขั้นตอนการใช้บริการ
(3.1) ตรวจสอบข้อมูลที่ต้องการจากบัญชีรายการข้อมูล ซึ่งให้บริการที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
(3.2) เขียนแบบคำร้องขอค้นข้อมูลข่าวสารของราชการ ยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
(3.3) กรณีเป็นข้อมูลที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้ตรวจดู เจ้าหน้าที่จะลงนามในแบบคำร้องเพื่อให้สำนัก/กอง/ศูนย์ที่เป็นเจ้าของข้อมูลดำเนินการต่อ ให้ผู้ขอใช้บริการนำแบบคำร้องไปยื่นต่อผู้รับผิดชอบในการให้บริการข้อมูลข่าวสารของกองที่เกี่ยวข้องนั้น
(3.4) ข้อมูลที่เมื่อเปิดเผยแล้ว อาจมีผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องหรือประโยชน์ส่วนรวม จะมีการนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของกองที่เกี่ยวข้อง และแจ้งผลให้ทราบภายใน 10 วันทำการ หากผลการพิจารณาไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลนั้น ผู้ร้องขออาจยื่นคำร้องต่อ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ซึ่งจะนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ฯ และแจ้งให้ทราบภายใน 10 วันทำการ
(3.5) ข้อมูลข่าวสารใดที่อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของบุคคลใด ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด โดยต้องให้เวลาที่ผู้นั้นมีโอกาสเสนอคำคัดค้านไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากมีผู้เสนอคำคัดค้าน ระยะเวลาการดำเนินการต้องปฏิบัติตามนัยมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
แผนภูมิแสดงอำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการของ มกอช.
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีดังนี้
สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน
2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนักงาน
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงาน
4. บริหารงานทรัพยากรบุคคลและจัดระบบงาน รวมทั้งการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการและพนักงานราชการของสำนักงาน
5. ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างเสริมวินัยและพัฒนาระบบคุณธรรมของสำนักงาน
6. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง งานนิติกรรมและสัญญางานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน
7. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของสำนักงาน
8. ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของสำนักงาน
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองควบคุมมาตรฐาน (กคม.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียน และการอนุญาตให้แก่ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าสินค้าเกษตร ตามมาตรฐานบังคับ รวมทั้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการสินค้าเกษตร ที่เกี่ยวข้อง
2. ตรวจสอบและดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตร
3. ศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดมาตรการ แผนงานควบคุมการตรวจสอบ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อดูแลคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยสินค้าเกษตร
4. กำกับ ดูแล ตรวจสอบ และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตร กำหนด ณ ด่านข้ามพรหมแดนประเทศไทย
5. เป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงาน และปฏิบัติงานการควบคุม กำกับ ดูแล สินค้าเกษตร
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (กนม.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. เสนอนโยบาย มาตรการ แผนงาน โครงการ ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศในการกำหนดมาตรการ และในการแก้ไขปัญหาด้านมาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหาร
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร
3. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงของสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อประโยชน์ในการกำหนดมาตรการนำเข้าและการส่งออกระหว่างประเทศ
4. จัดลำดับความสำคัญผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ต้องการให้มีการควบคุมคุณภาพและจัดลำดับความสำคัญการรับรองผู้ผลิตและผู้ประกอบการ
5. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐในเรื่องมาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหาร
6. เป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดท่าทีในเวทีโลก การเจรจาต่อรอง การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐาน คุณภาพ และข้อกีดกันทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารระหว่างประเทศ การดำเนินการภายใต้ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้องค์การการค้าโลก รวมทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหารภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
7. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและงานเลขานุการร่วมคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองรับรองมาตรฐาน (กรร.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. รับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบรับรองด้านสินค้าเกษตรและอาหาร
2. ดำเนินการออกใบอนุญาต พักใช้ และเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหาร
3. ศึกษา วิจัยและพัฒนารับบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
4. ประสานงานกับองค์การระหว่างประเทศด้านการรับรองระบบงานและด้านการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งการประสานความร่วมมือและเจรจาทำความตกลงความเท่าเทียมด้านการรับรองระบบงาน
5. ปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับรองระบบงาน
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทส.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศด้านการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. วางระบบเครือข่ายเพื่อพัฒนาข้อมูลสารสนเทศให้สามารถเชื่อมโยงผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานระหว่างประเทศให้มีความทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์
3. แจ้งข้อมูลและข่าวสารที่อาจมีผลกระทบต่อระบบมาตรฐาน ต่อการค้าระหว่างประเทศและต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและประชาชนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศและหน่วยงานระหว่างประเทศตามพันธกรณี
4. ให้บริการข้อมูลและข่าวสารแก่ประชาชนและส่วนราชการเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชน
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักกำหนดมาตรฐาน (สกม.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประเมินความเสี่ยง และประเมินข้อมูลทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อสนับสนุนการเจรจาในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
2. เสนอการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศต่อคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร และร่วมกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในระดับระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาค
3. ประสานงานกับหน่วยงานภายในประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานของสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่ โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติกับองค์การอนามัยโลก องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ สำนักงานอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ
4. ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อประเมินความเท่าเทียมของมาตรฐานและกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการทำความตกลงความเท่าเทียมของมาตรการทางการค้ากับประเทศคู่ค้า
5. ส่งเสริมและพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีองค์ความรู้ด้านการมาตรฐานและระบบคุณภาพของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งให้สามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มตรวจสอบภายใน (กตน.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน
2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
2. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
3. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่างๆ และหน่วยงานภานในสำนักงาน
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองส่งเสริมมาตรฐาน (กสม.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. จัดทำแผนงานและมาตรการ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาการมาตรฐาน
2. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรผู้เกี่ยวข้องภาครัฐและเอกชนให้นำมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรภาคประชาชน เช่น สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการส่งเสริมการผลิต การแปรรูป การขนส่ง การเก็บรักษา และการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานอาหารปลอดภัยทั้งในและต่างประเทศ
4. ส่งเสริมการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) สำหรับเกษตรกร และการให้ความรู้ด้านมาตรฐานสากลแก่หน่วยงานต่างๆ
5. รณรงค์ ส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศตระหนักถึงความจำเป็นในการบริโภคสินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานอาหารปลอดภัย ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับโครงการอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.)
มีอำนาจดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับด้านมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร
2. วิเคราะห์ จัดทำวิสัยทัศน์ นโยบาย และแผนปฏิบัติการของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวง
3. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานโครงการและงบประมาณในการขับเคลื่อนงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร
4. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลำดับความสำคัญผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ต้องการควบคุมคุณภาพและจัดลำดับความสำคัญการรับรองผู้ผลิตและผู้ประกอบการ
5. ดำเนินการในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและงานเลขานุการร่วมคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
มีภารกิจเป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยกำหนด ตรวจสอบรับรอง ควบคุม และส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค ตลอดจนการเจรจาแก้ไขปัญหาทางการค้าเชิงเทคนิค เพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อให้มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. เสนอแนะนโยบาย แนวทาง และมาตรการในการกำหนด การตรวจสอบรับรอง การควบคุม การวิจัย การพัฒนา การประเมินความเสี่ยง การถ่ายทอด การส่งเสริม และการพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ
3. กำหนดยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งกำกับดูแล เฝ้าระวัง และเตือนภัย
4. ประสานงาน กำหนดท่าที และร่วมเจรจาแก้ไขปัญหาด้านเทคนิค ด้านมาตรการที่มิใช่ภาษี และด้านการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร
5. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานกับองค์การมาตรฐานระหว่างประเทศด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งการดำเนินการภายใต้ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
6. เป็นหน่วยรับรองระบบงานของหน่วยตรวจสอบรับรองและเป็นหน่วยรับรองผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานด้านสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ
7. เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศด้านการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ดาวน์โหลด :
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 9 ต.ค.45)
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 6 ม.ค.55)
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 30 ธ.ค.57)
สัญญาอื่นๆ ไม่มีข้อมูล
เอกสารอื่นๆ ที่ต้องรายงาน ไม่มีข้อมูล