ด้านการผลิต สามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์ปฏิบัติในการผลิต ทั้งมาตรฐานระบบการผลิตที่อธิบายข้อกำหนดและคำแนะนำการปฏิบัติที่ดีในการผลิตหรือมาตรฐานสินค้าที่จะช่วยให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพ รวมทั้งจัดชั้นคุณภาพของผลผลิตและสินค้าเกษตรได้อย่างเหมาะสมเป็นเกณฑ์เดียวกันทั้งประเทศและสอดคล้องกับเกณฑ์สากลด้วย ด้านการค้า จะช่วยให้เกิดมาตรฐานกลางของประเทศที่ผู้ซื้อผู้ขายสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้า ในขณะที่ผู้ผลิตมีเกณฑ์ที่จะผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ ด้านการเจรจาระหว่างประเทศ การมีมาตรฐานของประเทศจะช่วยสนับสนุนการเจรจาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการทำความตกลงยอมรับความเท่าเทียมกันระหว่างประเทศไทยกับคู่ค้า ด้านระบบการตรวจรับรอง ตามยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดเป้าหมายการขึ้นทะเบียนและตรวจรับรองฟาร์มทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เพื่อนำฟาร์มเกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน โดยใช้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เป็นเกณฑ์ในการตรวจรับรองและตรวจรับรองโรงงานแปรรูปส่งออก (GMP,HACCP)
กุ้งก้ามกราม มี 3 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่
1. กุ้งเพศผู้มี 2 แบบ กุ้งก้ามทองและกุ้งก้ามลาก
2. กุ้งเพศเมียมี 3 แบบ กุ้งไข่ ซึ่งมี 2 แบบ ได้แก่ กุ้งไข่แดงและกุ้งไข่ดำ กุ้งโป่ง และกุ้งแก้ว หรือกุ้งหัวแก้ว
3. กุ้งนิ่ม ข้อกำหนดด้านคุณภาพ
1. คุณภาพทั่วไปของกุ้งที่ยอมรับได้ จากการตรวจสอบโดยการตรวจพินิจ และการดมกลิ่นเป็นดังนี้
- เป็นกุ้งสดทั้งตัว มีเปลือกหุ้มส่วนหัว ลำตัว และหางครบ
- ไม่มีตำหนิที่เห็นได้ชัด
- สะอาดปลอดจากพยาธิ และไม่มีลักษณะที่แสดงอาการของโรค
- ไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ผิดธรรมชาติของกุ้งสด
- ไม่มีสิ่งแปลกปลอม จากการปฏิบัติที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
- ไม่มีลักษณะเป็นกุ้งจิ๊กโก๋
2. การแบ่งชั้นคุณภาพ กำหนดไว้ 2 ชั้น คุณภาพคือ กุ้งชั้นพิเศษและกุ้งชั้นหนึ่ง ตามความสดและลักษณะปรากฏ โดยพิจารณาจากสีเนื้อ เนื้อเหยี่อบริเวณคอเหงือก เปลือก หุ้มลำตัว และจากกลิ่นของกุ้ง ซึ่งทั้ง 2 ชั้นคุณภาพนี้ต้องผ่านเกณฑ์คุณภาพทั่วไปของกุ้งที่ยอมรับได้ และเพิ่มเกณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ ลำตัวและเปลือกหุ้มลำตัว กุ้งชั้นพิเศษ ลำตัวต้องมีสีธรรมชาติตามสภาพแวดล้อม ส่วนหัวและลำตัวติดแน่นเปลือกสมบูรณ์ติดแน่นสดใส เป็นมัน เนื้อแน่น ใส เหงือกสะอาด ในขณะที่กุ้งชั้นหนึ่ง เปลือกเริ่มไม่สดใส ไม่เป็นมัน แต่เนื้อยังคงแน่น กลิ่น กุ้งชั้นพิเศษต้องมีกลิ่นกุ้งสดตามธรรมชาติ และไม่พบกลิ่นผิดปกติใดๆสำหรับกุ้งชั้นหนึ่ง อนุญาตให้มีกลิ่นคาวได้เล็กน้อย
มี 2 วิธี
1.การอบด้วยความร้อน (Heat Treatment) คือ การนำวัตถุดิบไม้ที่ประกอบเป็นบรรจุภัณฑ์มาอบด้วยความร้อนจนแกนกลางของไม้ได้รับความร้อนไม่น้อยกว่า 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที หากเป็นการอบแห้ง (Kin-Drying : KD) หรือการอัดน้ำยาด้วยแรงอัด (Chemical Pressure Impregnation : CPI) ก็ต้องได้รับความร้อนและใช้เวลาในระดับเดียวกันกับการอบด้วยความร้อน
2.การรมด้วยเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide Fumigation) คือ การนำวัตถุดิบไม้ที่จะประกอบเป็นบรรจุภัณฑ์มารมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ตามอุณหภูมิ อัตรา เวลาและความเข้มข้นที่กำหนด ซึ่งเดิมกำหนดอุณหภูมิต่ำสุดไม่น้อยกว่า 10 องศาเซลเซียส และระยะเวลารมไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมง แต่ได้มีการแก้ไขใหม่ในปี 2549 โดยเพิ่มระยะเวลารมเป็นไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (และการตรวจสอบความเข้มข้นของสารเมทิลโบรไมด์ต้องทำอย่างน้อย 3 ครั้งที่ระยะเวลา 2,4 และ 24 ชั่วโมง)
คือ วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากไม้แปรรูปที่ผ่านกระบวนการจนไม่มีความเสี่ยงที่ศัตรูพืชจะติดไป เช่น ไม้อัด ไม้เคลือบน้ำยา
ขณะนี้ต้องขึ้นทะเบียนผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออกที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 02-940-6466 โทรสาร 02-579-4129
เนื่องจากเอกสารฉบับนี้อ้างอิงมาจาก ISPM No.15 (2002) Guidelines for regulating wood packaging material in international trade เนื้อหาส่วนใหญ่มีความใกล้เคียงกัน
มาตรฐานฯ ฉบับนี้ ประกอบด้วย 3 ข้อหลักใหญ่ๆ ดังนี้
1. ขอบข่าย ครอบคลุมถึง การจัดหาวัตถุดิบ การจัดเตรียม กระบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา การนำเสนอและการจัดจำหน่าย การรักษาความปลอดภัยของอาหาร และเครื่องหมายและฉลาก และการที่จะได้การรับรองจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของศาสนบัญญัติ โดยองค์กรศาสนาให้การรับรองฯ ทั้งนี้ การตีความของศาสนาอาจมีบางส่วนที่แตกต่างกัน ความแตกต่างที่เกิดขึ้นควรมีข้อตกลงระหว่างประเทศผู้ส่งออกและประเทศผู้นำเข้าของทั้งสองประเทศ เป็นต้น
2. นิยาม โดยจะมีคำอธิบายของความหมายที่ใช้ในมาตรฐานฯ เช่นว่า ฮาลาล หมายถึงอะไร นญิส คืออะไร เป็นต้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในรายละเอียดมากขึ้น
3. เกณฑ์กำหนดสำหรับการใช้ฮาลาล ประกอบด้วย รายชื่อของอาหารที่ไม่อนุญาตตามศาสนบัญญัติอิสลาม ข้อปฏิบัติของการเชือดสัตว์ การจัดเตรียมการผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษา การชำระล้างนญิส สุขลักษณะอาหารบรรจุภัณฑ์และการบรรจุ เครื่องหมายและฉลาก ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างละเอียดแล้วในมาตรฐานฯ ฉบับนี้
มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ย่อมาจากคำว่า Sanitary and Phytosanitary Measures เป็นมาตรการที่ใช้ในการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ ด้วยเหตุผลทางสุขอนามัยเพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช ทั้งนี้การกำหนดระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้าจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศและตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ICPM ย่อมาจาก Interim Commission on Phytosanitary Measures หมายถึง คณะกรรมการธิการวิสามัญว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
14 มาตรา และ 3 ภาคผนวก
1.)องค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex)
2.)องค์การโลกระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)
3.)องค์การอารักขาพืชระหว่างประเทศ (IPPC)
ความตกลง SPS กำหนดให้ประเทศสมาชิก WTO ปรับมาตรการด้านสุขอนามัยพืชให้สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดโดย IPPC และใช้มาตรฐานของ IPPC เป็นมาตรฐานอ้างอิงกรณีเกิดข้อพิพาทในการค้าระหว่างประเทศ
IPPC ฉบับแก้ไขปรับปรุงปี 1997 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2548 และในปัจจุบันมีประเทศภาคีรวม 138 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย
สาระสำคัญภายใต้กรอบ IPPC คือ การดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันศัตรูพืช (โรค แมลง และวัชพืช) จากประเทศหนึ่งมิให้เข้าแพร่ระบาดก่อความเสียหายต่อพืชปลูก รวมทั้งพืชในสภาพแวดล้อมของอีกประเทศหนึ่ง ทั้งนี้ครอบคลุมถึงการควบคุมวัสดุต่างๆที่มีโอกาสเป็นพาหะขอศัตรูพืชด้วย เช่น ดิน ภาชนะบรรจุ ตู้เก็บ และขนถ่ายสินค้า เป็นต้น
ในปัจจุบัน IPPC ได้ประกาศใช้ ISPMs จำนวน 29 ฉบับ ทุกฉบับมีความเกี่ยวข้อง กับ การนำเข้า-ส่งออก สินค้าเกษตรของประเทศไทย โดยเฉพาะ ISPM No.15(2002)Guidelines for regulating wood packaging material in international trade ซึ่งมีผลกระทบต่อการขนส่งระหว่างประเทศ มกอช.จึงได้จัดทำมาตรฐานฯเรื่อง ข้อกำหนด สำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการส่งออก นอกจากนั้นได้นำ ISPM No.(1997)Guilines for surveillance มาจัดทำเป็นมาตรฐานฉบับภาษาไทย โดยใช้ชื่อว่า แนวทางการเฝ้าระวัง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติได้ตรงกับความหมายของต้นฉบับ
ปัจจุบันมี 2 เรื่อง คือ
1.) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ : การปฏิบัติที่ดีในการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เล่ม 1 : ข้อกำหนดทั่วไป การปฏิบัติที่ดีฉบับนี้มีเนื้อหาครอบคลุมการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เป็นอาหาร ตั้งแต่การจับ การดูแลรักษา การผลิต การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ การขนส่ง และการนำออกจำหน่าย และให้ใช้ร่วมกับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าแต่ละชนิด
2.) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ : การปฏิบัติที่ดีในการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเล่ม 2 : การผลิตปลาสด ปลาแล่เยือกแข็ง และเนื้อปลาบดการผลิตซูริมิเยือกแข็ง การปฏิบัติที่ดีฉบับนี้มีเนื้อหาครอบคลุมข้อแนะนำทางเทคนิค ในการผลิตปลาสด ปลาแล่เยือกแข็ง และเนื้อปลาบด การผลิตซูริมิเยือกแข็ง และใช้ร่วมกับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป
OIE ย่อมาจาก The Office International des Epizooties องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ
คือ การกำหนดมาตรฐานที่สร้างความมั่นใจระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองสุขอนามัยเศรษฐกิจของผู้บริโภค และเกิดความเป็นธรรมทางการค้า มาตรฐานที่จัดทำขึ้นตั้งอยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีการใช้หลักการวิเคราะห์ความเสี่ยง และการควบคุมขบวนการผลิต
Codex เป็นคำที่ใช้เรียก Codex Alimentarius ซึ่งมาจากภาษาลาติน หมายถึง Food Code
เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในด้านการค้าระหว่างประเทศ
1. ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
2. ไขมันและน้ำมัน
3. ผักและผลไม้สด
4. น้ำแร่
5. ผลิตภัณฑ์จากโกโก้และช็อกโกแลต
6. ปลาและผลิตภัณฑ์
7. น้ำตาล
8. นมและผลิตภัณฑ์
9. เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก
10. ธัญพืช
11. โปรตีนจากพืช
12. ซุป
13. อาหารที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรม
14. อาหารสัตว์
15. น้ำผักและผลไม้
เว็บไซต์ : www.codexalimentarius.net
ย่อมาจาก Executive Committee หมายถึง คณะกรรมาธิการบริหารของ CODEX
CAC ย่อมาจาก Codex Alimentarius Commission หมายถึง คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO หรือ Codex
CODEX คือโครงการมาตรฐานของ FAO/WHO ซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่
มีสมาชิก 169 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย
FFV : Codex Committee on Fresh Fruits and Vegetables คณะกรรมการ Codex สาขาผักและผลไม้สด
FO : Codex Committee on Fats and Oils คณะกรรมการ Codex สาขาไขมันและน้ำมันบริโภค
FAC : Codex Committee on Food Additives and Contaminants คณะกรรมการ Codex สาขาวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อนในอาหาร
MAS : Codex Committee on Methods of Analysis and Sampling คณะกรรมการ Codex สาขาวิธีวิเคราะห์และชักตัวอย่าง
NFSDU : Codex Committee on Nutrition and Foods for Special Dietary Uses คณะกรรมการ Codex สาขาโภชนาการและอาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ
MH : Codex Committee on Meat Hygiene คณะกรรมการ Codex สาขาสุขลักษณะเนื้อ
MMP : Codex Committee on Milk and Milk Products คณะกรรมการ Codex สาขานมและผลิตภัณฑ์นม
RVDF : Codex Committee on Residues of Veterinary Drugs in Foods คณะกรรมการ Codex สาขาสารตกค้างจากยาสัตว์ในอาหาร
ด้านการผลิต สามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์ปฏิบัติในการผลิต ทั้งมาตรฐานระบบการผลิตที่อธิบายข้อกำหนดและคำแนะนำการปฏิบัติที่ดีในการผลิตหรือมาตรฐานสินค้าที่จะช่วยให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพ รวมทั้งจัดชั้นคุณภาพของผลผลิตและสินค้าเกษตรได้อย่างเหมาะสมเป็นเกณฑ์เดียวกันทั้งประเทศและสอดคล้องกับเกณฑ์สากลด้วย ด้านการค้า จะช่วยให้เกิดมาตรฐานกลางของประเทศที่ผู้ซื้อผู้ขายสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้า ในขณะที่ผู้ผลิตมีเกณฑ์ที่จะผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ ด้านการเจรจาระหว่างประเทศ การมีมาตรฐานของประเทศจะช่วยสนับสนุนการเจรจาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการทำความตกลงยอมรับความเท่าเทียมกันร
โดยหลักการคือ ทำอย่างไรที่จะให้สินค้าของท่านเมื่อไปถึงญี่ปุ่นไม่มีปัญหาตรวจสอบพบสารตกค้างตาม positive list ถ้าโรงงานซื้อวัตถุดิบจากตลาดซึ่งไม่รู้ว่ามีสารตกค้างหรือไม่ โรงงานสามารถมีแนวทางการควบคุมได้ 2 อย่าง 1. ซื้อจาก contact farms หรือจากฟาร์มผลิตของบริษัทเองที่บริษัทสามารถควบคุมการใช้สารเคมีได้ 2. หรือ ซื้อมาจากตลาดเช่นเดิม แต่มีการตรวจสอบวัตถุดิบก่อนเข้าโรงงาน รายการบางรายการซึ่งเป็นสารต้องห้ามการใช้ในพริก และไม่มีการผลิตหรือการนำเข้ามานานแล้ว และผลการ monitor ของกรมวิชาการเกษตรไม่พบมีการใช้ ก็อาจยกเว้นการตรวจสอบ หรืออาจยังคงสุ่มตรวจเป็นครั้งคราว
ในกรณีของผลิตภัณฑ์ข้าวกล่องสำเร็จรูป (Ready to Eat Meal) นำเข้าญี่ปุ่นซึ่งมี ส่วนประกอบของเนื้อกุ้ง ข้าว พริกขี้หนู น้ำมันปาล์ม กระเพรา วัตถุดิบบางชนิดทางโรงงานสามารถตรวจสอบ ควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรได้แต่บางชนิด เช่น พริกขี้หนู ซึ่งเป็นส่วนประกอบเพียงเล็กน้อยในผลิตภัณฑ์และซื้อมาจากตลาด จึงไม่สามารถควบคุม ตรวจสอบการใช้สารเคมีของเกษตรกรในการเพาะปลูกได้ในกรณีนี้ ถ้าจะส่งจำหน่ายอาหารไปญี่ปุ่น จะต้องตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างทุกตัวที่อาจปนเปื้อนในส่วนประกอบแต่ละชนิดตามที่ระบุในระบบ Positive List
มีการกำหนดเลขตามที่คิดไว้แต่ว่าเลขที่เว้นไว้คือตัวที่ยังไม่ได้กำหนดดังนั้นจึงยังไม่ปิดท้ายเพราะถ้ามีข้อมูลใหม่จะได้เพิ่มเติมได้
เครื่องหมายรับรองสินค้าสามารถแสดงที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัดหรือบนตัวสินค้า ส่วนเครื่องหมายรับรองระบบ ทั้งการรับรองระบบการผลิตระดับฟาร์ม และการรับรองระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมให้แสดงบนเอกสารการรับรอง ประกาศนียบัตร เอกสารการโฆษณาเผยแพร่ โดยไม่แสดงที่ตัวสินค้า
ตัว Q ที่ติดในสินค้าอาหารจะมีคำว่า สินค้าคุณภาพ ส่วนสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น ปัจจัยการผลิตจะไม่มีสินค้าคุณภาพ
สามารถติดตัว Q ที่สินค้าดังกล่าวข้างต้นได้ เพื่อแสดงว่าสินค้าเหล่านี้เป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้
การที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะอนุญาตให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารแสดงเครื่องหมาย “Q” ได้นั้น ผู้ผลิตต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานที่กระทรวงเกษตรฯกำหนด ทั้งนี้ผู้ผลิตจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานครบทั้ง 2 ด้าน คือ มาตรฐานระบบการผลิตและมาตรฐานสินค้า มาตรฐานระบบการผลิต หมายถึง มาตรฐานที่กำหนดรายละเอียดการปฏิบัติที่จำเป็น ที่จะทำให้ได้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย โดยกำหนดทั้งมาตรฐานเกณฑ์การปฏิบัติระดับฟาร์มและมาตรฐานเกณฑ์การปฏิบัติระดับโรงงาน ขึ้นอยู่กับว่าสินค้าอาหารที่จำหน่ายสู่ผู้บริโภคมาจากฟาร์มโดยตรง หรือผ่านโรงงานแปรรูปด้วย ซึ่งฟาร์มในที่นี้จะครอบคลุมการเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ หรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรฯ จะตรวจสอบระบบการผลิตมาตรฐานนที่กำหนด และนอกจากนี้ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานแล้ว ยังต้องถูกสุ่มตรวจว่าผ่านตามมาตรฐานสินค้าหรือไม่ โดยมาตรฐานสินค้าจะเป็นมาตรฐานที่กำหนดคุณลักษณะด้านความปลอดภัยและคุณภาพที่สำคัญของสินค้าอาหารแต่ละชนิด ซึ่งการใช้มาตรฐานทั้ง 2 ด้าน ประกอบกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ผลิตอาหารมีความสามารถในการผลิตอาหารให้ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอย่างแท้จริง
เครื่องหมาย Q ใช้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภค ทราบว่า สินค้าเกษตรและอาหาร ที่ได้รับตรวจสอบและการรับรองจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น ๆ มีความปลอดภัย มีคุณภาพ หรือ เป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐาน รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ผลิตมีการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐานขึ้น
วิธีการแสดงเครื่องหมาย
1. เครื่องหมายรับรองสินค้า ให้แสดงไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัดหรือบนสินค้า
2. เครื่องหมายรับรองระบบ ทั้งการรับรองระบบการผลิตระดับฟาร์ม และการรับรองระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ให้แสดงบนเอกสารการรับรองประกาศนียบัตร เอกสารการโฆษณาเผยแพร่ โดยไม่แสดงที่ตัวสินค้า
3. การแสดงเครื่องหมายรับรองสินค้าที่มีขอบข่ายการรับรองเฉพาะประเภทการรับรอง หรือชนิดสินค้าที่จำเป็นต้องสื่อให้ผู้บริโภคทราบ เช่น การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ ให้ระบุข้อความแสดงขอบข่ายการรับรองประกอบการแสดงเครื่องหมาย 4. การแสดงเครื่องหมายให้ปฏิบัติตามกฎหมายประกาศระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้การรับรองปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย, ระบบในฟาร์ม เช่น GAP พืช ,GAP สัตว์น้ำ ,GAP ฟาร์มปศุสัตว์, ระบบในโรงงาน เช่น GMP HACCP ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทั้งด้านผลิตภัณฑ์พืช ผลิตภัณฑ์ประมง และผลิตภัณฑ์สัตว์
การขอตัว Q ของกรมวิชาการเกษตรใช้ระยะเท่าไร ในกรณีที่บุคลากรพร้อม - GAP ของพืชขึ้นอยู่กับฤดูกาลและชนิดของสินค้า ซึ่งต้องรับรองตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว - HACCP ของพืชประมาณ 2-3 เดือน ในกรณีที่ทุกอย่างพร้อม (ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง) - GMP ของพืชประมาณ 1-2 เดือน ในกรณีที่ทุกอย่างพร้อม (ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง) การขอตัว Q ของกรมประมงใช้ระยะเวลาเท่าไร ในกรณีที่บุคลากรพร้อม - GAP ของระบบการผลิตด้านสินค้าประมงประมาณ 2 อาทิตย์ (สอบถามจากกรมประมงอีกครั้ง) - GMP/HACCP ของประมงประมาณ 1-2 อาทิตย์ (สอบถามจากกรมประมงอีกครั้ง)
ผู้ประสงค์ขอใช้เครื่องหมายรับรองนี้ จะต้องติดต่อหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้บริการการตรวจสอบการรับรองตามภารกิจหน้าที่ ดังนี้
1. สินค้าสัตว์น้ำ ติดต่อกรมประมง ขอบข่ายการดำเนินงาน ได้แก่ - การรับรองระบบการเพาะเลี้ยงตามมาตรฐาน COC - การรับรองระบบการเพาะเลี้ยงตามมาตรฐาน GAP -ร ะบบควบคุมการผลิต HACCP
2. สินค้าเนื้อสัตว์ ติดต่อกรมปศุสัตว์ ขอบข่ายการดำเนินงาน ได้แก่ - เนื้อสัตว์อนามัยสามารถติดต่อขอการรับรองได้ที่สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
3. สินค้าผัก ผลไม้ ติดต่อกรมวิชาการเกษตร - ส่วนกลางขอการรับรองได้ที่หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร - ส่วนภูมิภาคขอการรับรอง ได้ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-เขตที่ 8 (สวพ.1 - 8)
4. ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ติดต่อที่กรมพัฒนาที่ดิน ขอบข่ายการดำเนินงานรับรอง ได้แก่ - ปุ๋ยชีวภาพ (Bio Fertilizers) - ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizers) - สารปรับปรุงบำรุงดิน (Soil Amendments)
สำหรับสินค้าสัตว์น้ำ ติดต่อกรมประมง, สินค้าเนื้อสัตว์ ติดต่อกรมปศุสัตว์ โดยเนื้อสัตว์อนามัยติดต่อสำนักพัฒนาระบบ กรมปศุสัตว์ ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ขอรับการรับรองได้ที่สำนักตรวจสอบคุณภาพ กรมปศุสัตว์, สินค้าผัก ผลไม้ ติดต่อกรมวิชาการเกษตร โดยติดต่อหน่วยที่ใกล้ที่สุด โดยกรุงเทพติดต่อที่หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร ส่วนต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8
เครื่องหมาย Q คือ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นควรให้มีการใช้เครื่องหมายรับรองให้เป็นเอกลักษณ์เดียว เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย รวมทั้งให้เกิดความชัดเจนในกระบวนการผลิต โดยการตรวจสอบรับรองแก่เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และกระตุ้นเตือนใช้รับรองกับสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง ตลอดกระบวนการ From Farm to Table เพื่อแสดงถึงคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทย สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีศักยภาพ ตามนโยบายที่กำหนดให้ ปี 2547 เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหารหรือ Food Safety Year แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องหมายรับรองสินค้า, เครื่องหมายรับรองระบบ
เครื่องหมายอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุขเป็นการรับรองอาหารตั้งแต่สถานที่จัดจำหน่าย (ตลาด) จนถึงมือผู้บริโภคภายในประเทศ ส่วนเครื่องหมายตัว Q ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นการรับรองสินค้าตั้งแต่ระบบการผลิตไปจนถึงตลาดซึ่งส่วนใหญ่ให้การรับรองกับสินค้าที่ส่งออกต่างประเทศ
สินค้าที่มีเครื่องหมาย Q เป็นสินค้าที่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ ดูแล และรับรองความปลอดภัย เข่น ถ้าเป็นสินค้าประเภทพืช ผัก ผลไม้ หรือธัญพืชต่างๆ จะผ่านการตรวจสอบรับรองความปลอดภัย ตั้งแต่การผลิตขั้นต้น เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยสารเคมี การผลิตในแปลงจะต้องเป็นระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือเรียกว่า GAP จนถึงการผลิตในโรงงานและการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ หากเป็นสินค้าปศุสัตว์ จะได้รับการดูแลตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ การใช้ยารักษาสัตว์ ต้องขึ้นทะเบียนรับรองฟาร์มตามมาตรฐาน GAP การตรวจสอบรับรองกระบวนการผลิตในโรงงานและโรงฆ่าสัตว์และขั้นตอนการจัดส่งถึงผู้บริโภค ทุกขั้นตอนล้วนมีความสำคัญและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
Q หมายถึง Quality (คุณภาพ) สีเขียว หมายถึง สินค้าเกษตร สรุปโดยรวม ตัว Q หมายถึง คุณภาพของสินค้าเกษตร
Q ของทั้งสองกระทรวง หมายถึง Quality เช่นเดียวกัน แต่ขอบข่ายการใช้ต่างกัน Q ของกระทรวงเกษตรฯ รับรองผู้ผลิตระดับฟาร์มหรือโรงงาน คือ ใช้ในการรับรองระบบการผลิต หรือใช้ในการรับรองสินค้า (Product Certification) Q ของกระทรวงสาธารณสุข ใช้รับรองสถานที่ผลิต ร้านอาหาร ณ จุดจำหน่าย
Q ของกระทรวงสาธารณสุขให้กับสถานที่ผลิต ณ จุดจำหน่าย แต่ Q ของกระทรวงเกษตรฯ มีการดูแลครบวงจรตั้งแต่การผลิตขั้นต้น การแปรรูป จนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (From Farm to Table)
เครื่องหมาย อย. เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ Q ของกระทรวงเกษตรฯ มาตรฐานที่ใช้ในการรับรองจะมีทั้งมาตรฐานสากลและมาตรฐานของประเทศไทย
ถ้าได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ (Product Certification) แล้วสามารถติดได้ทั้ง 1 ล้านกระป๋อง แต่จะสามารถติด Q ได้ตลอดอายุการรับรองที่ระบุไว้ในใบรับรอง
สามารถให้ตัว Q ได้เลย โดยไม่ต้องอาศัยกฎหมายแม่บท
ตัว Q ที่มีข้อความว่าอาหารปลอดภัยใช้ในการรับรองสินค้าอาหาร แต่ตัว Q ที่ไม่มีคำว่าอาหารปลอดภัยเป็นการรับรองสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น กล้วยไม้ ยางพารา ไหม ปัจจัยการผลิต เป็นต้น
ยังไม่ชัดเจนในการแบ่งแยก บทบาทและหน้าที่การให้ตัว Q ระหว่าง 2 กรมนี้ซึ่งต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป เนื่องจากแต่ละกรมจะมีความแตกต่างด้านบทบาทและหน้าที่ในการให้ตัว Q
มกอช. ไม่มีสิทธิในการให้ตัว Q โดยตรงเนื่องจาก มกอช. เปลี่ยนบทบาทจาก CB ไปเป็น AB แล้ว ซึ่งในขณะนี้ มกอช. เป็นส่วนที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เกิดการยอมรับการนำตัว Q มาใช้กับหน่วยงาน CB ทั้งหมด
มกอช. ไม่สามารถให้การรับรองห้องปฏิบัติการได้นอกจาก สมอ.(มีหน้าที่ให้การรับรองสินค้าอุตสาหกรรม) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สามารถให้การรับรองได้ ซึ่งในขณะนี้ตามมติครม. มกอช. อยู่ในฐานะหน่วยงานที่ให้การรับรอง AB (Regulatory Body) คือหน่วยงานที่รับผลงานของหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นมาใช้ในการปฏิบัติงานของมกอช.ต่อไป
สำหรับสินค้าสัตว์น้ำ ติดต่อกรมประมง, สินค้าเนื้อสัตว์ ติดต่อกรมปศุสัตว์ โดยเนื้อสัตว์อนามัยติดต่อสำนักพัฒนาระบบ กรมปศุสัตว์ ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ขอรับการรับรองได้ที่สำนักตรวจสอบคุณภาพ กรมปศุสัตว์, สินค้าผัก ผลไม้ ติดต่อกรมวิชาการเกษตร โดยติดต่อหน่วยที่ใกล้ที่สุด โดยกรุงเทพติดต่อที่หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร ส่วนต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8
กรมวิชาการเกษตร ส่วนต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8
ผู้ประกอบการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปโดยเฉพาะอาหารทุกราย จะต้องขอขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจผลิตอาหารและขึ้นทะเบียนตำหรับอาหารกับ อย. โดยจะได้รับหมายเลขทะเบียนผู้ผลิตอาหารและทะเบียนตำหรับอาหารซึ่งกฎหมายบังคับ ส่วนการขอเครื่องหมาย Q เป็นความสมัครใจแต่จะพิจารณาว่าผู้ประกอบการได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. ด้วยหรือไม่ มาประกอบการตัดสินใจรับรอง
เครื่องหมายฮาลาล เป็นมาตรฐานการผลิตอาหารตามหลักศาสนาอิสลาม ส่วนตัว Q เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งสินค้าที่ได้รับเครื่องหมายฮาลาล แล้ว สามารถขอหรือไม่ขอเครื่องหมาย Q ก็ได้
GMP ย่อมาจากคำว่า Good Manufacturing Practices หมายถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
HACCP ย่อมาจากคำว่า Hazard Analysis Critical Control Point หมายถึงระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เป็นระบบการจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัย ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้อาหารที่ปราศจากอันตราย 3 ด้าน ได้แก่ อันตรายทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ อันอาจมีผลกระทบต่ออาหาร
GAP ย่อมาจาก Good Agricultural Practices หมายถึง การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม
การรับรองระบบ (System Certification) เป็นการตรวจประเมินให้การรับรองระบบโดยคลอบคลุมกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้ตามาตรฐาน อันได้แก่
1. การรับรองระบบGMP/HACCP เป็นการตรวจประเมินให้การรับรองระบบให้ได้มาตฐานด้านความปลอดภัยอาหาร(GMP/HACCP) โดยหน่วยรับรองที่ให้การรับรองต้องมีการจัดระบบตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide62:1996: ซึ่งไม่สามารถแสดงเครื่องหมาย Q ที่ตัวสินค้า แต่ให้แสดงที่ส่วนอื่น เช่น เอกสารการรับรอง ประกาศนียบัตร และเอกสารการโฆษณาเผยแพร่ เป็นต้น
2. การรับรองระบบการผลิตอื่นๆ ได้แก่ การรับรองระบบสวนป่า เป็นต้น
GAP = Good Agriculture Practice การจัดการเกษตรที่ดี GMP = Good Manufactory Practice การจัดการโรงงานที่ดี
การขอคำรับรอง GAP/GMP เป็นไปด้วยความ สมัครใจ
GAP (Good Agricultural Practice) เป็นการจัดการขบวนการผลิตอย่างมีระบบเพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัย
ระบบ HACCP มีหลักการ 7 ข้อ เป็นแนวทางประยุกต์ใช้ ดังนี้
1. ดำเนินการวิเคราะห์อันตราย (Conduct a hazard analysis)
2. หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Determine the Critical Control Points (CCPs)
3. กำหนดค่าวิกฤต (Establish critical Limit (s))
4. กำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Establish a system to monitor control of the CCP)
5. กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม (Establish the corrective action to be taken when monitoring indicates that particular CCP is not under control)
6. กำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP (Establish procedures for verification to confirm that the HACCP system is working effectively)
7. กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติและบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามหลักการเหล่านี้ และการประยุกต์ใช้ (Establish documentation concerning all procedures and records appropriate to these principles and their application)
ขั้นตอนการทำระบบ HACCP มีทั้งหมด 12 ขั้นตอน คือ
1. การจัดเตรียมงาน
2. การกำหนดรายละเอียดผลิตภัณฑ์
3. การกำหนดวัตถุประสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์
4. การทำแผนภูมิกระบวนการผลิต
5. การทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิการผลิต
6. การวิเคราะห์อันตราย
7. การกำหนดจุดควบคุมวิกฤต
8. การกำหนดค่าวิกฤต ณ จุดควบคุมวิกฤต
9. กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและการตรวจสอบ
10. กำหนดมาตรการแก้ไข
11. ทบทวนประสิทธิภาพของระบบ
12. จัดทำระบบบันทึกและเก็บรักษาข้อมูล
GMP (Good Manufacturing Practice) หรือหลักเกณ์วิธีการที่ดีสำหรับการผลิต เป็นการจัดการสภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิต เช่น การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การออกแบบโครงสร้างอาคารผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ซึ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข
จำนวนของเอกสารไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการจัดทำเอกสารของแต่ละโรงงาน ซึ่งต้องครอบคลุมประเด็นต่างๆดังนี้ คือ
1.) การทำความสะอาด
2.) การควบคุมน้ำ น้ำแข็งและไอน้ำ
3.) การควบคุมแมลงและสัตว์พาหะ
4.) สุขลักษณะส่วนบุคคล
5.) การควบคุมการรับวัตถุดิบ
6.) การควบคุมเครื่องแก้ว
7.) การควบคุมสารเคมี
8.) การซ่อมบำรุงและการสุขาภิบาล
9.) การควบคุมและการกำจัดขยะ
10.) การสอบเทียบเครื่องมือ
11.) การควบคุมกระบวนการผลิต
12.) การควบคุมการขนส่ง
13.) การฝึกอบรม
14.) การควบคุมสินค้าที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
15.) การเรียกคืนผลิตภัณฑ์
16.) การระบุบ่งชี้และสอบกลับ
17.) การจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า
18.) การควบคุมเอกสาร
19.) การทวนสอบ/การตรวจประเมิน
มีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ GAP และ CoC
CoC หรือ Code of Conduct หมายถึง ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน โดยกุ้งที่ได้รับจากระบบ CoC จะเป็นกุ้งที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ กุ้งที่มีการผลิตอย่างมีมาตรฐาน กุ้งที่มีคุณภาพและความปลอดภัย และกุ้งที่มีการเลี้ยงหรือผลิตอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
EUREPGAP คือ หลักปฏิบัติทางด้านการเกษตรที่ดี Good Agricultural Practices (GAP) ซึ่งกลุ่มผู้ค้าปลีกในยุโรป Euro-retailer Produce Working Group (EUREP)เป็นผู้ริเริ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคในยุโรปได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารที่ได้จากผลผลิตการเกษตร อีกทั้งกระบวนการผลิตต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
มี 2 ประเภท
1. การรับรองสินค้า (Product Certification)
2. การรับรองระบบ (System Certification)
การรับรองสินค้า (Product Certification) เป็นการตรวจสอบให้การรับรองสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finished product) โดยมีการสุ่มตัวอย่าง การทดสอบ และการตรวจสอบว่าสินค้ามีคุณลักษณะทางด้านคุณภาพและความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานทั่วไปด้านความปลอดภัย เช่น สารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน รวมทั้งมีการตรวจประเมินระบบการผลิตหรือกระบวนการผลิตว่าผู้ผลิตมีความสามารถในการรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผลิตอย่างสม่ำเสมอได้ตามมาตรฐาน เช่น เนื้อหมูอนามัย ผักผลไม้สดปลอดภัย ซึ่งสามารถแสดงเครื่องหมาย Q ไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด หรือบนสินค้าได้
- ถ้าเป็นหน่วยรับรอง (CB) สามารถที่ขอการรับรองความสามารถได้ที่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เกษตรกลาง จตุจักร กทม. 10900
- ถ้าเป็นผู้ประกอบการสามารถขอได้ที่
1.)สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์พืชผัก ผลไม้ สามารถติดต่อที่สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
2.)สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ สามารถติดต่อที่สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
3.)สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ประมง สามารถติดต่อที่กองตรวจสอบคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง หรือศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสมุทรสาครสุราษฎร์ธานี หรือสงขลา ซึ่งรับผิดชอบเขตนั้นที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกตั้งอยู่
เป็นการรับรองตลอดทั้งระบบการผลิต การตรวจสอบจะครอบคลุมตั้งแต่เริ่มปลูก ดูแลรักษา จนกระทั่งเก็บเกี่ยว ส่วนในผลิตภัณฑ์แปรรูปก็เช่นกัน การตรวจสอบเริ่มตั้งแต่การได้มาและการจัดการวัตถุดิบ กรรมวิธีการแปรรูป การบรรจุ และการขนส่ง ซึ่งการรับรองนี้ ไม่ใช่การรับรองว่าผลผลิตนั้นปลอดสารเคมีตกค้างใด ๆ (เพราะอาจมีมลพิษในอากาศ ดิน และน้ำได้) แต่เป็นการรับรองว่า กระบวนการผลิตนั้นไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ และมีการพยายามป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีจากสภาพแวดล้อมอย่างดีที่สุด เท่าที่สามารถทำได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากที่สุด(เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ทั่วไป) อีกทั้งกระบวนการผลิตนี้ยังมีการปฏิบัติตามแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพนิเวศการเกษตร และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังด้วย
หน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body : AB) หมายความว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การรับรองความสามารถของหน่วยรับรอง/หน่วยตรวจ
ปัจจุบันมีผู้ประสงค์ขอรับการรับรองเป็นจำนวนมาก และหน่วยงานภาครัฐมีจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องมีCertificate Body(CB) ภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองจากภาครัฐมาช่วยการปฏิบัติงาน เพื่อสามารถให้บริการได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของผู้ส่งออก
หน่วยรับรอง (Certification Body :CB) ปฏิบัติงานโดยใช้มาตรฐาน ISO/IEC Guide 62 แบ่งได้ 2 ประเภท คือ หน่วยรับรองภาคเอกชน มีหน้าทีตรวจประเมินการจัดทำระบบมาตรฐานต่างๆของโรงงานอุตสาหกรรมหรือฟาร์มเกษตรกร และหน่วยรับรองของภาครัฐ ได้แก่ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร มีหน้าที่ตรวจประเมินการจัดทำระบบมาตรฐานต่างๆของโรงงานอุตสาหกรรมหรือฟาร์มเกษตรกร และให้การรับรองระบบ รวมทั้งออกใบรับประกันสุขภาพพืชและใบรับประกันสุขภาพสัตว์เพื่อการส่งสินค้าออก
เพื่อให้การดำเนินงานด้านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีระบบการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้เกิดการยอมรับผลการตรวจรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหาร อันเป็นการลดปัญหาการกีดกันทางการค้า ซึ่งประเทศคู่ค้าของไทยนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันสินค้าเกษตรและอาหาร
ISO/IEC 17025-General requirements for the competence of calibration and testing laboratories หรือ ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบ
ใช้แบบฟอร์ม F03 สำหรับการตรวจติดตาม และ F05 ในการส่งข้อมูลสรุปให้ มกอช.
ให้ระบุตามในใบรับรองที่ได้ แต่ถ้าพบว่ามีมะม่วงที่เป็นทั้งสินค้า Q และไม่เป็นสินค้า Q จำหน่ายและต่างกันที่พันธุ์ ให้ระบุพันธุ์ไว้ด้วย เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้
สามารถให้การรับรองได้ เนื่องจากสินค้าดังกล่าวไม่ต้องมีการทำความเย็นเพื่อคงสภาพสินค้าเหมือนปลาที่ตายแล้ว
ไม่ได้ เนื่องจากสินค้า Q สำหรับไข่ไก่ต้องมาจากการรับรองโครงการเนื้อสัตว์อนามัย และจากการรับรอง GMP ของหน่วยรับรองภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับ มกอช. แล้วเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ราย เท่าที่ทราบมี เบทาโกรบางโรงงานที่ได้รับการรับรองแล้ว
ไม่ได้ เนื่องจากสินค้าดังกล่าวยังไม่เป็นสินค้า Q แต่ทางจังหวัดสามารถใช้งบประมาณของโครงการส่งเสริมฯ ไปส่งเสริมตลาดนัดดังกล่าวให้มีสินค้า Q หรือสินค้าที่จะเข้าสู่ระบบการรับรองจำหน่ายได้ต่อไปในอนาคต ประเด็นนี้ทาง สนง. กษ. ภูเก็ต ฝากให้พิจารณาด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของ มกอช. ตามมติที่ประชุมคณะเชื่อมโยงฯ ปี 2557 ที่ผ่านมาแล้ว
ถ้ามีเฉพาะในจังหวัดสามารถให้การรับรองได้ แต่ถ้าเป็นรายที่ มกอช. ให้การรับรองไปแล้วแบบหลายสาขา ได้แก่ ท็อปส์ แม็คโคร บิ๊กซี โลตัส เบทาโกร เดอะมอลล์ กรูเม่มาร์เก็ต ไม่ต้องให้การรับรองแล้วเพราะได้รับการรับรองทั่วประเทศไปแล้ว
อาจได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าที่จำหน่าย ถ้าสินค้าที่จำหน่ายเป็นสินค้า Q ตามโครงการเนื้อสัตว์อนามัย หรือการรับรองโดยภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับ มกอช. สามารถให้การรับรองได้ แต่ถ้าไม่ใช่สินค้า Q ให้การรับรองไม่ได้
ต้องเป็นเนื้อสัตว์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองโครงการเนื้อสัตว์อนามัย และจากการรับรองโดย หน่วยรับรองภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับ มกอช. แล้วเท่านั้น
ที่ป้าย Q เล็กลงเป็นเพราะความสะดวกในการแขวนป้ายของร้าน ถ้าใหญ่จะแขวนไม่สะดวก และขนาดก็สามารถมองเห็นได้เมื่อมาซื้อที่ร้านค้าแห่งนั้น
ไม่ได้ เนื่องจากสินค้า Q สำหรับไข่ไก่ต้องมาจากการรับรองโครงการเนื้อสัตว์อนามัย และจากการรับรอง GMP ของหน่วยรับรองภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับ มกอช. แล้วเท่านั้น
สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ https://tascode.acfs.go.th/
มีระบบรับเรื่องร้องเรียนที่หน้าเว็บไซต์ มกอช. http://e-petition.acfs.go.th/
1. หากเป็นการแสดงบนสินค้าแนะนำให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร
2. หากเป็นการแสดงป้าย ณ สถานประกอบการ แนะนำให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมสัมพันธ์กับป้ายชื่อสถานประกอบการ หรือสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.acfs.go.th/#/page/210
ไม่ได้
เครื่องหมาย Q มีอายุตามใบรับรอง เมื่อต่ออายุการรับรองก็สามารถใช้เครื่องหมาย Q ได้อย่างต่อเนื่อง
1. ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปไม่สามารถแสดงเครื่องหมาย Q ประเภท GAP ได้อีก
2. ตามพ.ร.บ. มกษ. ผู้ได้รับใบรับรองเท่านั้นที่มีสิทธิ์แสดงเครื่องหมาย
3. แนะนำให้ใช้ระบบ QR trace on cloud https://acfs-qrtrace.com/UserRegister/Register สอบถามการใช้งานได้ที่เบอร์ 0 2579 4986
1. สำนักงานจะพิจารณาให้ความเห็นชอบตาม ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบผู้ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของต่างประเทศที่มีมาตรฐานแตกต่างจากมาตรฐานบังคับ
2. - ถ้า ไม่สอดคล้องตามประกาศฯ เจ้าหน้าที่จะทิ้งคำขอและจำหน่ายเรื่องออกสารบบ - ถ้า สอดคล้องตามประกาศฯ สำนักงานให้ความเห็นชอบ และประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน/แจ้งผู้นำเข้าทราบภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันที่สำนักงานเห็นชอบ
3. หากข้อมูลในเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน ผู้ประกอบการจะต้องจัดส่งให้ทางสำนักงานภายใน 7 วัน และทางสำนักงานจะดำเนินการประเมินเอกสารข้อมูลภายใน 30 วัน
หลักการพิจารณามี 4 ข้อ ดังนี้
1. ใบรายงานผลการวิเคราะห์ต้องสอดคล้องตามเงื่อนไขในประกาศ ซึ่งต้องออกโดยหน่วยงาน/ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025
2. ขอบข่ายการวิเคราะห์ต้องเป็นสินค้าตามมาตรฐานบังคับ เช่น เมล็ดถั่วลิสงกะเทาะเปลือก (Peanut Kernels)
3. ใบรายงานผลการวิเคราะห์ ต้องเป็น ใบรายงานผลการวิเคราะห์ปริมาณสารอะฟลาทอกซิน เท่านั้น
4. รายละเอียดการรายงานผลต้องเป็นชนิดสารอะฟลาทอกซินที่ตรวจ ได้แก่ B1, B2, G1, G2 และผลการวิเคราะห์ปริมาณอะฟลาทอกซิน (Total Aflatoxin) ทั้งหมดต้องไม่เกิน 20 ppb
ขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. ผู้นำเข้าติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจพืชที่จะนำเข้า เพื่อประสานงาน นัดหมายวันที่จะเข้าไปสุ่มเก็บตัวอย่าง ในระหว่างนี้ผู้นำเข้าห้ามนำสินค้าออกไปจำหน่ายเด็ดขาด
2. เจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจพืช ดำเนินการเก็บตัวอย่างสินค้าและอายัดสินค้า ผู้นำเข้าและเจ้าหน้าที่ลงนามในเอกสาร มกษ.18 และ มกษ.19
3. การวิเคราะห์สารอะฟลาทอกซินในกรณีอายัดสินค้า ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์เอง
4. หากผลการตรวจวิเคราะห์ผ่าน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการถอนอายัดให้ โดยผู้นำเข้าและเจ้าหน้าที่จะลงนามในเอกสาร มกษ.20 เพื่อดำเนินการถอนอายัด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ ผู้นำเข้าจึงจะสามารถนำสินค้าออกไปจำหน่ายได้
5. หากกรณี ผลการวิเคราะห์ ไม่ผ่าน ผู้นำเข้าต้องทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอปรับปรุงแก้ไข/ส่งกลับประเทศต้นทาง/ทำลายสินค้า มายัง มกอช. ตามประกาศสำนักงานฯ ใน พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ไม่สามารถใช้ยื่นนำเข้าได้ จะต้องเป็นใบรับรองมาตรฐานที่อยู่ในขอบข่ายของ TAS 4702-2014 ,GMP /HACCP (CODEX), ISO22000 และ BRC
ใบรายงานผลการวิเคราะห์ควรมีอายุไม่เกิน 2 เดือน หากเกินกว่านี้ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาเป็นเงื่อนไข “เก็บตัวอย่างและอายัดสินค้าเพื่อรอผลวิเคราะห์”
1. (กรณีนำเข้าจากอินเดีย) ใบรับรองการส่งออก (Certificate of Export) ที่ออกโดยหน่วยงาน APEDA ให้สแกน QR Code ท้ายใบรับรองฯ หรือเข้าไปที่ https://traceability.apeda.gov.in/groundnut/apeda /COE_Verification.aspx
2. (กรณีนำเข้าจากจีน) ใบรับรองระบบงาน CHINA QUALITY CERTIFICATION CENTRE (CQC) ให้เข้าไปที่ https://www.cqc.com.cn/www/english/ certificateinquiry/
3. (กรณีนำเข้าจากจีน) ใบรับรองระบบงาน XINGYUAN CERTIFICATION CENTRE CO., LTD. (XQCC) ให้เข้าไปที่ http://cx.xqcc.com.cn:8006/ 4. (กรณีนำเข้าจากประเทศอื่นๆ) ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ โทร. 095 871 2113 หรือ 098 248 1233
สามารถใช้ตัวสำเนายื่นทำใบขนสินค้าได้ โดยก่อนยื่นทำใบขนสินค้า ให้ผู้ประกอบการสังเกตเงื่อนไขที่ระบุในใบรับแจ้งนำเข้า เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
(แนบ Info) https://www.acfs.go.th/files/files/attach-files/70_20230511144752_539856.png
แจ้งส่งออกผ่านระบบ Tas-license มกษ.7 https://www.acfs.go.th/files/files/attach-files/71_20230511150702_586306.jpg
มีใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต มกษ.2 มีใบอนุญาตเป็นผู้ส่งออก มกษ.4 มีใบรับรองมาตรฐานตามขอบข่าย มกษ.9046-2560 https://www.acfs.go.th/files/files/attach-files/72_20230511151842_876849.png
สามารถดาวน์โหลดหน้าระบบ tas.acfs.go.th ภาพ https://www.acfs.go.th/files/files/attach-files/72_20230511151842_876849.png
1. ใบรับรองมาตรฐานตามขอบข่าย มกษ.1004-2557
2. เอกสารแบบ มกอช.1004-02
3. เอกสารแบบ มกอช.1004-03 ภาพ https://www.acfs.go.th/files/files/attach-files/73_20230511152142_393118.jpg
1. ภาพถ่ายสำนักงาน
2. แผนที่หรือพิกัดสำนักงาน
3. ภาพถ่ายสถานที่ส่งออก
4. แผนที่หรือพิกัดสถานที่ส่งออก
5. ข้อมูลวิธีการเก็บรักษา
6. ภาพถ่ายพร้อมคำบรรยายแสดงลักษณะของสินค้าเกษตร
7. ใบยืนยันสถานที่เก็บสินค้าส่งออก
1. ภาพถ่ายสำนักงาน
2. แผนที่หรือพิกัดสำนักงาน
3. ภาพถ่ายสถานที่นำเข้า
4. แผนที่หรือพิกัดสถานที่นำเข้า
5. ข้อมูลวิธีการเก็บรักษา
6. ภาพถ่ายพร้อมคำบรรยายแสดงลักษณะของสินค้าเกษตร
7. ใบยืนยันสถานที่เก็บสินค้านำเข้า
8. ใบรับรองมาตรฐานบังคับ
เจ้าหน้าที่ดำเนินการออกใบอนุญาต หลังจากชำระเงินแล้ว 3 วันทำการ
1. นิติบุคคล 1,000 บาท
2. บุคคลธรรมดา 100 บาท
1. นิติบุคคล 500 บาท
2. บุคคลธรรมดา ยกเว้นค่าธรรมเนียม
1. ธนาคาร
2. เคาน์เตอร์เซอร์วิส
3. Mobile Payment (สแกนคิวอาร์โค้ด)
การต่ออายุใบอนุญาตก่อนหมดอายุไม่น้อยกว่า 45 วัน (แต่ไม่เกิน 90 วัน)
เมื่อใบอนุญาตหมดอายุแล้วจะไม่สามารถต่ออายุได้ ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอใบอนุญาตฉบับใหม่
ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์ใบอนุญาตและใบเสร็จรับเงินได้เองในระบบ TAS-License ที่หน้าคำขอใบอนุญาต
ผู้ประกอบสามารถยื่นขอใบแทนใบอนุญาตได้ที่ มกษ.10 ของระบบ TAS-License http://tas.acfs.gp.th.go.th/nsw/
ผู้ประกอบสามารถยื่นขอย้ายสถานที่ทำการในใบอนุญาตได้ที่ มกษ.10 ของระบบ TAS-License http://tas.acfs.gp.th.go.th/nsw/
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ( มกอช.) มีสถานที่ตั้งอยู่ภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(บางเขน) - เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร - เว็บไซต์ www.acfs.go.th
เป็นองค์กรนำด้านการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ทั่วโลกยอมรับ
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้ มกอช. มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1. กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป และสินค้าอาหาร
2. กำกับ ดูแล และเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยด้านอาหาร
3. ออกใบอนุญาต และรับรองผู้รับรองมาตรฐาน และผู้ประกอบการเกี่ยวกับมาตรฐานและฉลากคุณภาพสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าอาหาร
4. ประสานงานและร่วมเจรจาแก้ไขปัญหาด้านเทคนิค มาตรการที่มิใช่ภาษี และการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ
5. เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูปและอาหาร 6. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โครงสร้างการบริหารของ มกอช. ประกอบด้วย
1. สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.)
2. กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (กนม.)
3. สำนักกำหนดมาตรฐาน (สกม.)
4. กองรับรองมาตรฐาน (กรร.)
5. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทส.)
6. กองควบคุมมาตรฐาน (กคม.)
7. กลุ่มตรวจสอบภายใน (กตน.)
8. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.)
คณะกรรมการฯ ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. กำหนดนโยบายและแผนงาน มาตรการเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานระบบ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามนโยบาย
2. กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานระบบ
3. กำหนด กำกับดูแลหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานระบบ
4. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานระบบ 5. กำหนดระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามที่เห็นสมควร
7. ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายโดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
1. ข้อมูลมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ผู้ที่สนใจสามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์ของ มกอช. www.acfs.go.th ซึ่งภายในประกอบด้วย
- ข้อมูลมาตรฐานสินค้าเกษตรของ มกอช. ทั้งที่ประกาศใช้แล้วและที่กำลังจะประกาศใช้
- การแจ้งเตือนภัยด้านความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร (ACFS Early Warning) เช่น กฎระเบียบ การนำเข้าของต่างประเทศ การตรวจพบปัญหาต่างๆ ในสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ (Detention list)
2. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจสอบและการออกใบรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร www.thaicertlist.net เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลการตรวจสอบและออกใบรับรองด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช สัตว์ ประมง ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร และกรมศุลกากร ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเพื่อป้องกันการปลอมแปลงใบรับรองด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารสำหรับให้ประเทศคู่ค้าหลักๆ
ในการกำหนดมาตรฐานนั้นมีหลักการที่สำคัญ คือ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ดังนี้ ขั้นที่1 พิจารณาเรื่องที่สมควรกำหนดมาตรฐาน
ขั้นที่2 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาร่างมาตรฐาน
ขั้นที่ 3 จัดทำร่างมาตรฐาน
ขั้นที่ 4 เสนอคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณา
ขั้นที่ 5 ประสานความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ขั้นที 6 เสนอคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติอนุมัติ
ขั้นที่ 7 แจ้ง WTO เพื่อเวียนประเทศอื่นให้ความเห็น (กรณีเป็นมาตรฐานบังคับ)
ขั้นที่ 8 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ขั้นที 9 ทบทวนมาตรฐานทุก 5 ปี หรือเมื่อเห็นสมควร
โดยสรุประบบนี้คือสามารถตรวจสอบได้ว่า สินค้านี้มาจากไหนและจะจัดส่งให้ใคร ซึ่งจะมีระบบการเก็บข้อมูลเพื่อสามารถตรวจสอบได้ ในกรณีมีปัญหาจะช่วยจำกัดความเสียหายคือเรียกเก็บสินค้าเฉพาะที่มีปัญหาไว้ได้ทั้งหมดและสามารหาสาเหตุปัญหาได้ ขณะนี้เพิ่งมีการดำเนินงานกับการวางระบบตรวจสอบย้อนกลับในลักษณะโครงการนำร่องบางสินค้าและบางบริษัทยังไม่มีการทำครบทั้งหมด
เรื่องนี้มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ โดยสรุป HACCP เน้นความปลอดภัยอาหาร แต่ ERUEPGAP นอกจากความปลอดภัยอาหารแล้ว ยังรวมเรื่องอื่นๆ เช่น แรงงาน สิ่งแวดล้อมด้วย
การตรวจสอบย้อนกลับ GMOs หมายถึง ความสามารถในตรวจสอบ GMOs หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจาก GMOs ในทุกขั้นตอนของการวางจำหน่ายในท้องตลาดตลอดห่วงโซ่ของการผลิตและกระจายผลผลิต
การทวนสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ตลอดกระบวนการผลิตตั้งแต่ระดับไร่นา การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการจัดจำหน่ายจนถึงมือผู้บริโภค เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยอาหาร โดยสามารถเรียกทวนสอบย้อนกลับข้อมูลการผลิตของสินค้าได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร และสามารถเรียกกลับคืนสินค้าได้ การทวนสอบย้อนกลับอาจดำเนินการในลักษณะการทวนสอบย้อนกลับจากผลิตภัณฑ์ (Backward Traceability) หรือการทวนสอบจากการผลิตในระดับไร่นาจนถึงผลิตภัณฑ์ (Forward Traceability)
Traceability เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 และมีสาระสำคัญคือผู้ผลิตสินค้าจะต้องเก็บข้อมูลการผลิตแบบ one step up one step down โดยระเบียบนี้บังคับใช้กับประเทศสมาชิกเท่านั้น ซึ่งผู้นำเข้าของ EU จะเป็นคนเก็บข้อมูลการซื้อขายสินค้าเอง โดยประเทศผู้ส่งออกอย่างประเทศไทยไม่ต้องดำเนินการเก็บข้อมูลดังกล่าว กฎระเบียบของ EU ในด้านเกี่ยวกับ Traceability ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2555 เป็นต้นไป (EU regulation No.931/2011) สำหรับผู้ส่งออกสินค้าอาหารที่ผลิตได้มาจากสัตว์ กล่าวคือ สินค้าอาหารนั้นจะต้องมีการระบุข้อมูลต่อไปนี้
1.รายละเอียดที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารนั้นๆ
2.ปริมาตร หรือปริมาณของอาหาร
3.ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ส่งออกสินค้าอาหาร
4.ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ผลิตสินค้าอาหาร
5.ชื่อ ที่อยู่ ของผู้นำเข้าสินค้าอาหาร
6.ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ค้าปลีกของสินค้าอาหารนั้น
7.หมายเลขสำหรับอ้างอิงต่างๆ เช่น lot, batch, consignment
8.วันที่สินค้าถูกส่งออก ข้อมูลดังกล่าวเหล่านี้จะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องเป็นประจำและต้องเก็บไว้ เพื่อเป็นข้อมุลแก่ทาง EU อย่างน้่อย จนกระทั่งถึงระยะเวลาที่สินค้านั้นจะถูกซื้อและบริโภค
ระบบการสืบค้นย้อนกลับเป็นมาตรการที่ประเทศคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ได้กำหนดเป็นกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้าให้ประเทศผู้ส่งออกต้องนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหาร และต้องการเป็นครัวของโลกจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการให้มีการนำระบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร และอาหาร เพื่อรองรับสถานการณ์ทางการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนั้นการนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับไปประยุกต์ใช้ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ผลิตสินค้าอาหาร และผู้บริโภค
จากสภาพปัจจุบัน การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของโลก เน้นและให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับจะถูกบังคับใช้ในสภาพยุโรป หรืออียู (EU) สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งจะกลายเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทยในอนาคต ถ้าหากประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาการตรวจสอบย้อนกลับในระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) นอกจากนั้น ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการวางแผน การควบคุม และการดำเนินงานในระบบต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และช่วยพัฒนาการควบคุมคุณภาพสินค้า ตั้งแต่กระบวนการผลิตระดับฟาร์มจนถึงโรงงานและการส่งออก ที่สำคัญ คือ ป้องกันปัญหาการกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ ระบบตรวจสอบย้อนกลับยังเป็นฐานข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสินค้าตั้งแต่แหล่งผลิตหรือแหล่งที่มาของสินค้าและผลการวิเคราะห์ทางปฏิบัติการ (Lab) ของผลิตภัณฑ์ได้จึงทำให้สามารถออกใบรับรองสุขอนามัยได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตสามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น ปัจจุบัน มกอช. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง เร่งดำเนินการ โครงการนำร่องระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรและอาหาร โดยเบื้องต้นได้คัดเลือกสินค้านำร่องที่มีศักยภาพในการส่งออก 3 ชนิด ได้แก่ สินค้ากุ้งขาว/กุ้งกุลาดำ ในพื้นที่การผลิตจังหวัดจันทบุรีและสมุทรสาคร จำนวน 12 โรงงาน สินค้าไก่ ในพื้นที่การผลิตจังหวัดลพบุรีและสระบุรี จำนวน 6 โรงงาน และสินค้าข้าวโพดฝักอ่อน ในพื้นที่การผลิตจังหวัดกาญจนบุรี 1 โรงงาน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2550 จากนั้นก็จะใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลการจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆต่อไป
การตรวจสอบย้อนกลับมีความสำคัญหรือมีประโยชน์ต่อเกษตรกร คือ
1. สามารถเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกรได้มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคปัจจุบันให้ความสำคัญต่อสินค้าเกษตรที่มีการรับรองด้านอาหารปลอกภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตสินค้าได้
2. เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลจากระบบการตรวจสอบย้อนกลับช่วยในการวางแผน และควบคุมคุณภาพการผลิตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1. เพิ่มความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ส่งผลให้สามารถรักษาและขยายตลาดได้
2. ป้องกัน/แก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า
3. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าอาหารของไทยในตลาดโลก
4. ให้คนไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพเทียบเท่าสินค้าส่งออก
5. ความเป็นผู้นำด้านผู้ส่งออกอาหารของโลก
6. สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า
ประเทศมีข้อกำหนดเรื่องฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม หรือพันธุวิศวกรรม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 251 พ.ศ. 2545 โดยระบุให้อาหารที่มีส่วนประกอบของสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) หรือโปรตีนที่เป็นผลจากการดัดแปรพันธุกรรมนั้นอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 5 ของแต่ละส่วนประกอบที่เป็นส่วนประกอบหลัก 3 อันดับแรก และแต่ละส่วนประกอบดังกล่าวนั้นมีปริมาณตั้งแต่ร้อยละ 5 ของน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์ ต้องระบุฉลาก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.moph.go.th
5 ชนิด (มะม่วง ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย)
ต้องมาจากสวนที่ขึ้นทะเบียน เฉพาะ 5 ชนิด ที่มีพิธีสาร และสามารถขึ้นทะเบียนสวนได้ที่ กรมวิชาการเกษตร
ส่งออกได้ 5 ชนิด คือ กล้วยหอม สัปปะรด ทุเรียน มะพร้าวอ่อน มะม่วง มังคุด
21 ชนิด ดังนี้ ผักคื่นฉ่าย ผักคะน้า ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว ใบโหระพา ผักชี ใบกะเพรา ผักคะแยง ยี่หร่า ใบแมงลัก ใบสะระแหน่ ผักแพรว ใบบัวบก ถั่วลันเตา กะหล่ำใบ ส้มป่อย/ชะอม ใบมะกรูด ผักกะเฉด ตะไคร้ ผักเป็ด กระเจี๊ยบเขียว
การทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นจากการกล่าวหาของกลุ่มพันธมิตรชาวประมงกุ้งภาคใต้สหรัฐอเมริกาของ 8 มลรัฐ ว่าสินค้ากุ้งของไทยและประเทศผู้ส่งออกอื่น ๆ มีราคาต่ำกว่าราคาต้นทุนของสินค้ากุ้งในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งภายในประเทศ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประกาศรับพิจารณาเพื่อไต่สวนการทุ่มตลาดกุ้งนี้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547 และคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (USITC) ประกาศผลการพิจารณาว่าการนำเข้ากุ้งจากประเทศไทยและอีก 5 ประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมกุ้งในประเทศสหรัฐ ทั้งนี้หากผลการพิจารณาว่ามีการทุ่มตลาดจริง ประเทศผู้ถูกฟ้องต้องจ่ายภาษีนำเข้าสินค้ากุ้งตามที่กระทรวงพาณิชย์ สหรัฐฯ กำหนด
ได้แล้ว
ขั้นตอนในการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปยังสหรัฐฯ มีดังนี้
1. ผู้ส่งออกจะต้องมีโรงงานคัดบรรจุผลไม้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP จากกรมวิชาการ และต้องปรับปรุงโรงงานให้ป้องกันแมลง คือ เป็นโรงงานระบบปิด ประตูจะต้องเป็นประตูสองชั้น และมีตาข่ายกันแมลงทุกช่องทางที่เปิดให้อากาศถ่ายเท
2. ผู้ส่งออกจะต้องมีสวนผลไม้ที่ได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร โดยทำความตกลงหรือทำสัญญาเพื่อให้มีผลไม้ที่มีคุณภาพเพื่อการฉายรังสีส่งออก
3. ผู้ส่งออกจะต้องนำเอกสารสำเนา GMP ของโรงงานคัดบรรจุ และสำเนา GAP ของสวนไปจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผลไม้ไปยังสหรัฐอเมริกาที่ศูนย์บริการทางวิชาการเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร เพื่อรับรองตรวจสอบก่อนส่งข้อมูลให้ฝ่ายสหรัฐอเมริกาเป็นหลักฐานโดยจะต้องส่งให้สหรัฐอเมริกาล่วงหน้า 30 วันก่อนการเปิดฤดูการส่งออก ผู้ส่งออกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจึงจะมีสิทธิ์ส่งออก โดยผลผลิตต้องมาจากสวนที่ขึ้นทะเบียนไว้เท่านั้น
4. คัดเลือกผลไม้ให้ได้ขนาดและมาตรฐานที่กำหนดในการฉายรังสี ทำความสะอาดเพื่อกำจัดแมลงและบรรจุในกล่องที่มีอากาศถ่ายเทได้ แต่จะต้องมีตาข่ายกันแมลงกั้นในช่องระบายอากาศด้วย ซึ่งบนกล่องจะต้องแสดงรหัสโรงงานคัดบรรจุ และรหัสสวน คือ รหัส GMP และ GAP เมื่อบรรจุเรียบร้อยก็พร้อมที่จะขนส่งเข้าฉายรังสีต่อไป
5. ก่อนที่จะเข้าฉายรังสี โรงงานคัดบรรจุจะต้องติดต่อศูนย์ฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตร เพื่อทำสัญญาการฉายรังสีตามช่วงเวลาที่กำหนด เนื่องจากผลไม้ฉายรังสีเป็นสินค้าที่ต้องมีฉลากตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ดังนั้น ก่อนที่จะนำผลไม้เข้าฉายรังสีได้ โรงงานคัดบรรจุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหากเป็นโรงงานคัดบรรจุในต่างจังหวัดก็จะต้องติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก็จะต้องติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการอาหารฉายรังสี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
6. นำผลไม้เข้าฉายรังสี โดยขั้นตอนในโรงงานฉายรังสีจะมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา และเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร สุ่มตรวจสอบผลไม้และควบคุมกระบวนการฉายรังสีให้ถูกต้องตามวิธีการฉายรังสีผลไม้เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช ก่อนที่ศูนย์ฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตรจะออกใบรับรองการฉายรังสีให้ผู้ประกอบการส่งออกต่อไป
7. เมื่อฉายรังสีเสร็จเรียบร้อย ผู้ส่งออกต้องขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อประกอบใบกำกับสินค้า ซึ่งสามารถออกให้ได้โดยเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรที่เป็นผู้ตรวจสอบ ณ โรงงานฉายรังสี หรือจะไปขอรับการตรวจสอบที่ด่านทั้งที่ท่าอากาศยานหรือท่าเรือก็ได้ เมื่อเอกสารทุกอย่างเรียบร้อยผลไม้ก็ถูกขนส่งไปถึงผู้นำเข้าที่สหรัฐอเมริกาได้โดยสะดวก
แนวทางปฏิบัติของชาวสวนผลไม้ที่ต้องการส่งออก คือ
1. จะต้องมีข้อมูลประจำสวนผลไม้ ดังนี้
1.1 ชื่อ ที่อยู่ของสวนผลไม้ เพื่อประโยชน์ในการลงรหัสประจำสวนผลไม้
1.2 แผนผังแปลงปลูกผลไม้แต่ละชนิด
1.3 เนื้อทีเพาะปลูก เนื้อที่ให้ผลผลิตแล้ว ปริมาณผลผลิต
1.4 ช่วงฤดูเก็บผลไม้แต่ละชนิด ทั้งในฤดูกาลและนอกฤดูกาล
1.5 การบันทึกข้อมูลการใช้สารกำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิดอย่างละเอียด
1.6 การบันทึกจัดการและควบคุมแมลงวันผลไม้ให้อยู่ในระดับประชากรที่ต่ำ เช่น การติดตั้งกับดักแมลง การห่อผล เป็นต้น
2. ต้องเป็นสวนผลไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและรับรองระบบ GAP จากกรมวิชาการเกษตร 90 วัน ก่อนเริ่มฤดูส่งออก
IRA ย่อมาจาก Import Risk Analysis หมายถึง การวิเคราะห์ความเสี่ยงสินค้านำเข้า
PRA ย่อมาจาก Pest Risk Analysis การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
MRLs ย่อมาจากคำว่า Maximum Residue Limits หมายถึงปริมาณสารตกค้างสูงสุดที่ยอมรับได้
สารทั้งสองเป็นสารก่อมะเร็ง หากมีการบริโภคและสะสมไว้เป็นจำนวนมากในร่างกาย ซึ่ง Codex ไม่ระบุค่า MRL (ห้ามพบ)
มีขึ้นอยู่กับตลาดต่างประเทศแต่ละแห่ง เช่น ตลาดญี่ปุ่นต้องตรวจสารตกค้าง Oxycyline ด้วย รวมทั้งเรื่องโรคหรือจุลินทรีย์บางแห่งต้องตรวจเป็น 10 รายการ
กกก
โดยหลักการคือ ทำอย่างไรที่จะให้สินค้าของท่านเมื่อไปถึงญี่ปุ่นไม่มีปัญหาตรวจสอบพบสารตกค้างตาม positive list ถ้าโรงงานซื้อวัตถุดิบจากตลาดซึ่งไม่รู้ว่ามีสารตกค้างหรือไม่ โรงงานสามารถมีแนวทางการควบคุมได้ 2 อย่าง 1. ซื้อจาก contact farms หรือจากฟาร์มผลิตของบริษัทเองที่บริษัทสามารถควบคุมการใช้สารเคมีได้ 2. หรือ ซื้อมาจากตลาดเช่นเดิม แต่มีการตรวจสอบวัตถุดิบก่อนเข้าโรงงาน รายการบางรายการซึ่งเป็นสารต้องห้ามการใช้ในพริก และไม่มีการผลิตหรือการนำเข้ามานานแล้ว และผลการ monitor ของกรมวิชาการเกษตรไม่พบมีการใช้ ก็อาจยกเว้นการตรวจสอบ หรืออาจยังคงสุ่มตรวจเป็นครั้งคราว
ในทางปฏิบัติแล้วการกำหนดมาตรฐานของหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรในลักษณะหรือประเภทเดียวกัน เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อน และเป็นภาระของผู้ประกอบการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและติดต่อหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน เว้นแต่มาตรฐานที่กำหนดนั้นมีความแตกต่างในรายละเอียดของข้อกำหนด ซึ่ง มกอช.จะดำเนินการและประสานหน่วยงานอื่นที่กำหนดมาตรฐานในเรื่องดังกล่าวไว้แล้วตามที่เห็นสมควร
1. การจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและการค้าที่ต้องเข้าสู่ระบบมาตรฐาน
2. ความพร้อมของหน่วยตรวจสอบรับรองทั้งขีดความสามารถและความพอเพียงต่อจำนวนผู้ผลิตและปริมาณการผลิต
3. ความพร้อมของระบบการออกใบอนุญาตและระบบการแจ้งนำเข้า-ส่งออก
4. การตรวจสอบระบบการผลิตและการตรวจสอบรับรองของประเทศคู่ค้าที่จะส่งสินค้ามายังประเทศไทย รวมทั้งกระบวนการเจรจาการยอมรับระบบตรวจสอบรับรอง
เห็นควรเพิ่มหรือกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนขึ้นในการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ ถึงแม้ไทยจะไม่ได้ผลิตเลย หรือผลิตเป็นส่วนน้อยมาก เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคหรืออุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้อง
TBT ย่อมาจาก Technical Barriers to Trade คือ อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าระหว่างประเทศโดยทั่วไป ได้แก่ การกำหนดกฎระเบียบและข้อบังคับทางเทคนิค มาตรฐานและระบบใบรับรองสำหรับสินค้าส่งออกและนำเข้า ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศได้
เป็นความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกซึ่งจะกำหนดพันธกรณีสำหรับสมาชิกองค์การการค้าโลกในการกำหนดกฎระเบียบและข้อบังคับทางเทคนิคมาตรฐานและระบบใบรับรองสำหรับสินค้าส่งออกและนำเข้าซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศได้
การนำตัวอย่างสินค้ากลับเข้ามาจะได้รับยกเว้นอากรเมื่อได้นำกลับเข้ามาภายใน 1 ปี และได้ทำใบสุทธินำกลับไว้แล้วขณะส่งออก จึงควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อนี้ มิฉะนั้นหากเป็นของต้องชำระอากรก็จะต้องชำระอากรตามปกติ ในกรณีที่มิได้ยื่นขอใบสุทธินำกลับไว้หรือมีใบสุทธินำกลับแล้วแต่นำกลับเข้ามาไม่ทันภายในกำหนด 1 ปี ให้ยื่นขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับหรือขอขยายเวลาก่อน หากได้รับอนุมัติจึงได้รับยกเว้นอากร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ ใบสุทธินำกลับ
CVD ย่อมาจาก Countervailing Duty หมายถึง ภาษีตอบโต้การอุดหนุน ซึ่งเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าที่ได้รับการพิสูจน์ว่า รับการอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศผู้ผลิต
GSP ย่อมาจาก Generalized System of Preferences หรือระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หมายถึง ประเทศพัฒนาแล้วให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศที่กำลังพัฒนาโดยลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าแก่สินค้าที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า ทั้งนี้ประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ จะเป็นผู้ให้แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ประเทศที่ให้ GSP ปัจจุบันมีอยู่ 28 ประเทศ แต่ประเทศที่ให้ GSP และมีความสำคัญต่อไทยมีอยู่ 3ประเทศ คือ สหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น
การเปลี่ยนมาตรการจำกัดการนำเข้าที่มิใช่ภาษีเป็นมาตรการภาษี (เฉพาะสินค้าเกษตร)
สินค้าที่ใช้ในการเกษตรเฉพาะที่เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทพิกัดฯที่มีประกาศยกเว้นอากรให้ จะได้รับการยกเว้นอากร ทั้งนี้หากมีเงื่อนไขใดๆ เช่น ต้องพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของอธิบดีกรมศุลกากรว่าเป็นของที่ใช้ในการเกษตร ก็จะต้องผ่านการพิสูจน์ดังกล่าวก่อนด้วย ผู้นำเข้าจึงต้องตรวจสอบประเภทพิกัดฯของของที่จะนำเข้าก่อน และดูว่าในประเภทพิกัดฯนั้นๆมีการยกเว้นอากรหรือไม่ สามารถดูรายละเอียดได้ที่หัวข้อ พิกัดอัตราศุลกากร
กรณีนำสินค้าเข้ามาแทนสินค้าเดิม สินค้าที่นำเข้าจะต้องชำระอากรตามชนิดและอัตราอากร ตามประเภทพิกัดของสินค้านั้น สำหรับการขอสิทธิลดหย่อนค่าภาษีอากร เนื่องจากเป็นการนำเข้ามาทดแทนสินค้าชำรุดที่นำเข้าก่อนหน้านั้น ไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีประกาศหรือคำสั่งให้ลดหย่อนภาษีอากร และสินค้านี้เป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยปกติ สำหรับสินค้าที่ชำรุดหรืออาจจะผิดรุ่น ผู้นำเข้าสามารถส่งคืนให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายและขอคืนค่าภาษีอากรที่ชำระไว้ได้ โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนด ว่าด้วยการคืนอากรตามมาตรา 19 ( Re-Export ) สินค้านอกอารักขาศุลกากร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ การคืนอากรตามาตรา 19 (Re-export)
สินค้าที่นำเข้ามาในประเทศไทยโดยเสียอากรไว้ครบถ้วนแล้ว หากส่งกลับออกไปยังต่างประเทศหรือส่งกลับไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปต่างประเทศในสภาพเดิมที่นำเข้าภายใน 1 ปีนับแต่วันนำเข้าสามารถขอคืนเงินอากรขาเข้าได้เก้าในสิบส่วน หรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่เรียกเก็บไว้โดยของที่ส่งออกไปเพื่อขอคืนอากรต้องอยู่ในสภาพเดิมที่นำเข้ามาถ้าเป็นกรณีที่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงหีบห่อ หรือภาชนะบรรจุ หรือต้องสำแดงเลขหมาย เครื่องหมายใหม่ ให้ผู้ส่งออกยื่นคำร้องให้เจ้าหน้าที่พิจารณาก่อนการส่งออก นอกจากนี้ ของส่งออกรายใดที่สามารถติดตัวอย่างกับต้นฉบับใบขนสินค้าขาออกได้ เช่น ผ้าผืน กระดาษ พลาสติก เป็นต้น ให้ติดตัวอย่างทุกชนิดตามรายการในบัญชีราคาสินค้าและ/หรือเอกสารอื่นที่แนบใบขนสินค้าขาออก โดยผู้ส่งของออกรับรองว่าเป็นตัวอย่างจากของที่ส่งออกจริง ถ้าเป็นการส่งของกลับออกไปโดยที่ของยังอยู่ในอารักขาของศุลกากรและจะส่งออกไปทางท่าเดียวกันกับที่นำเข้ามา ผู้ส่งออกสามารถยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและขาออกพร้อมกันและขอชำระอากรหนึ่งในสิบส่วนหรือไม่เกิน 1,000 บาท กรณีที่นำของเข้ามาทางอากาศยานและมีลักษณะเป็นสินค้าโดยของนั้นผู้โดยสารนำติดตัวเข้ามาพร้อมกับตน หรือมาในระวางบรรทุก (UNACCOMPANIED BAGGAGE) แล้วจะส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศ โดยที่ของยังอยู่ในอารักขาของศุลกากรและจะส่งกลับออกไปทางท่าเดียวกันกับที่นำเข้ามา โดยผู้ส่งออกสามารถขอปฏิบัติพิธีการนำเข้าและส่งออกพร้อมกัน โดยต้องชำระอากรขาเข้าให้ครบถ้วนเสียก่อนจะใช้วิธีชำระหนึ่งในสิบส่วนหรือ ไม่เกิน 1,000 บาทไม่ได้ เมื่อส่งของนั้นกลับออกไปแล้ว ผู้ส่งออกจึงขอคืนอากรขาเข้า ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้นำของเข้าดังกล่าวได้รับยกเว้น ตามมาตรา 81 (2) ง. แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ต้องจัดเก็บ เว้นแต่กรณีนำเข้ามาทางอากาศยานทางสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพที่เป็นของผู้โดยสารชาวต่างประเทศนำเข้ามาให้ผู้นำของเข้าชำระอากรหนึ่งในสิบส่วนหรือไม่เกิน 1,000 บาทได้
Free Trade Zone หรือเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับประกอบการค้าเสรีที่ปลอดจากภาระทางภาษีอากร เป็นอาณาบริเวณที่กรมศุลกากรอนุมัติให้จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นที่รวมของคลังสินค้าทัณฑ์บน 2 ประเภท คือ คลังสินค้าทัณฑ์บนตามมาตรา 8 เช่น คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปเพื่อจัดแสดงสินค้าหรือนิทรรศการ (คสท.) และ คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า โดยสามารถดูรายละเอียดสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการขอจัดตั้ง FREE TARDE ZONE ได้ทีหัวข้อ สิทธิประโยชน์
การส่งสินค้าอาหารประเภทบรรจุภาชนะหรือหีบห่อไปยังออสเตรเลียนั้นผู้ผลิตและผู้ส่งออกจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การนำเข้าของออสเตรเลียอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะด้านการติดฉลากสินค้า เช่น ต้องมีรายละเอียดสินค้าระบุส่วนประกอบในอาหาร ระบุว่าสินค้ามาจากประเทศใด ระบุน้ำหนักเป็นภาษีอังกฤษ รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทผู้นำเข้าโดยทุกอย่างต้องเป็นภาษาอังกฤษ โดยหน่วยงาน AQIS (Australia Quarantine and Inspection Service) เป็นผู้ตรวจสอบอาหารบรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่ส่งเข้าไปยังประเทศออสเตรเลีย
ระเบียบ COOL ของสหรัฐฯห้ามใช้ทั้งสองคำในการระบุวิธีการผลิตโดยเด็ดขาด ขณะนี้ มกอช. อยู่ระหว่างการประสานงานเรื่องแนวทางปฏิบัติกับกรมศุลกากร
ไม่ต้อง แต่ต้องระบุวิธีการผลิตว่ามาจากการจับหรือการเพาะเลี้ยง เช่น farmed prawn หรือ wild prawn
Breaded Shrimp จัดเป็นอาหารแปรรูปไม่ต้องติดฉลาก ไม่ว่าจะผ่านการต้มหรือไม่
ไม่ต้องติดฉลาก COOL เพราะจัดเป็นอาหารแปรรูป ซึ่ง หมายถึงอาหารที่ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของอาหารไปแล้ว หรืออาหารที่ผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ในลักษณะ substantive เช่น bread shrimp รวมทั้ง อาหารนึ่ง ย่าง ต้ม ทอด อบ และรมควัน เป็นต้น
ไม่ต้องติดฉลากประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าแต่ต้องติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้
ระเบียบนี้บังคับใช้กับผู้ค้าปลีกของสหรัฐฯซึ่งอาจจะระบุแค่ที่ master carton ที่วางจำหน่าย ทั้งนี้ ต้องสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนสำหรับผู้บริโภค ไม่ใช่วางจำหน่ายใน inner carton แต่ไม่มีฉลากระบุที่ inner carton แต่การระบุที่ inner carton หรือใน pack สินค้าจะสะดวกกับผู้ค้าปลีกในการนำสินค้าวางจำหน่าย ดังนั้น ผู้ส่งออกต้องหารือให้ชัดเจนกับผู้นำเข้าว่าต้องการสินค้าที่มีการติดฉลากอย่างไรหรือผู้จำหน่ายปลายทางจะเป็นผู้ติดฉลากเองจากข้อมูลที่ผู้ส่งออกมีให้
ระบุตามธงของเรือที่จับสำหรับผลิตภัณฑ์ขั้นต้น
แกงกระป๋องจัดเป็นอาหารแปรรูป จึงไม่ต้องติดฉลากประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าถ้าส่งออกไปสหรัฐฯแต่ต้องติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้ (ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น)
ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กก็ได้
ได้ จะใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีนขึ้นก่อนก็ได้
ใช่ สามารถใช้ไว้ข้างบน ข้างล่าง หรือด้านข้างก็ได้
ได้ แต่จะดีกว่าถ้าเขียนตามรูปแบบที่กำหนด
ภายใต้ระเบียบข้อบังคับฉบับปรับปรุงแก้ไขนี้ การกล่าวอ้างทางโภชนาการ หมายถึงการแสดงข้อความใดๆก็ตามที่ระบุ ชี้แนะ หรือบ่งบอกเป็นนัยให้ทราบว่าอาหารนั้นมีคุณสมบัติทางโภชนาการใดเป็นพิเศษ ทั้งนี้การพิจารณาว่าการแสดงข้อความใด ว่าเป็นการกล่าวทางโภชนาการ จะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป หากการแสดงข้อความนั้นชี้แนะหรือบ่งบอกเป็นนัยให้ทราบว่าอาหารนั้นไม่มีพลังงาน หรือสารอาหารแต่ละ ประเภทที่สูงหรือต่ำแล้ว ถือว่าเป็นการกล่าวอ้างอิงทางโภชนาการ
คำข้างต้นทั้งหมดนี้ไม่ถือเป็นการกล่าวอ้างทางโภชนาการ นอกจากนี้ คำว่า “not a significant source of” ก็ไม่ถือเป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า “low”, “free” หรือ “zero gram” ซึ่งถือเป็นคำกลาวอ้างทางโภชนาการ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ใช้คำว่า “contains phenylalanine” และ “casein free” ตามกฎเกณฑ์ทั่วไปโดยการใช้ คำเหล่านี้ได้จะต้องได้รับการตรวจสอบว่าถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจในทางที่ผิด สำหรับคำว่า “with vitamin” หรือ “with minerals” นั้น วิตามินหรือเกลือแร่ที่แสดงรายการไว้จะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขในการกล่าวอ้างที่เกี่ยวข้อง
บุคคลใดก็ตามที่โฆษณาเพื่อจำหน่าย จำหน่าย หรือผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารบรรจุเสร็จใดๆก็ตามที่ไม่มีการระบุข้อมูลโภชนาการที่จำเป็นหรือมีการกล่าว อ้างทางโภชนาการที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะถือว่าดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมาย สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่ายแต่มีไว้เพื่อการโฆษณานั้น จะถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายได้หากบุคคลนั้นโฆษณาเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารบรรจุเสร็จและในโฆษณานั้นมีการกล่าวอ้างทางโภชนาการที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
สำหรับการจำแนกประเภทของอาหารตามเงื่อนไขว่าเป็นอาหารแข็งหรืออาหารเหลวนั้น ควรพิจารณาตามสถานะที่จำหน่าย เช่น ไอศกรีมมีสถานะเป็นอาหารแข็งเมื่อจำหน่าย ดังนั้น การอ้างกล่าวทางโภชนาการสำหรับไอศกรีมจึงควรเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับอาหารแข็ง การอ้างกล่าวทางโภชนาการสำหรับอาหารกึ่งของแข็ง (เช่น โยเกิร์ต คัสตาร์ด) และอาหารที่ผสมกันระหว่างอาหารแข็งกับอาหารเหลว (เช่น ซุป ข้าวต้ม โจ๊ก) ควรเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับอาหารแข็ง อย่างไรก็ตาม สำหรับผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น นมผงซึ่งจะต้องมีการนำไปผสมน้ำก่อนการบริโภค ดังนั้นการกล่าวอ้างจึงควรเป็นไปตามเงื่อนไขในการกล่าวอ้างทางโภชนาการที่ใช้สำหรับสถานะหลังการผสมตามขั้นตอนที่ระบุไว้บนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ และขั้นตอนในการเตรียมอาหารก็ควรชี้แจงไว้อย่างชัดเจนด้วย
ครอบคลุม
ข้อมูลของสารอาหารในฉลากโภชนาการนั้น ควรเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน (แบบง่ายหรือแบบดั้งเดิม) หรือทั้ง 2 ภาษาควบคู่กัน แต่ตัวเลขจะต้องแสดงเป็นเลขอารบิก
แคปซูลบรรจุวิตามินและเกลือแร่นี้ถือว่าเป็นเภสัชภัณฑ์ ไม่ใช่อาหาร จึงอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลของกฎหมายฉบับอื่น
ในระเบียบข้อบังคับฉบับปรับปรุงแก้ไขนั้น กรดไขมันชนิดทรานส์หมายถึง ผลรวมของของกรดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหมดซึ่งมีพันธะคู่ทรานส์แบบไม่รวมอย่างน้อย 1 คู่ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว จะเป็นไปตามคำจำกัดความของกรดไขมันชนิดทรานส์ ที่ระบุไว้ในคำแนะนำด้านการใช้ฉลากโภชนาการของ Codex แต่กรดไขมันชนิดทรานส์ ที่รวมกันจากแหล่งทางธรรมชาติและทางอุตสาหกรรมจะไม่รวมอยู่ในคำจำกัดความนี้ อย่างไรก็ตาม หากอาหารมีกรดไขมันชนิดทรานส์ที่ไม่รวมกันแล้ว ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตาม ต้องแสดงไว้ในฉลากอาหาร
หากผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นที่บรรจุไว้ภายในหีบห่อเดียวกันนั้นมีความแตกต่างกันแล้ว อาจใช้ทางเลือกดังต่อไปนี้ได้ (1) ใช้ฉลากโภชนาการแยกกันสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นในหีบห่อ (2) ใช้ฉลากรวมกัน (เช่น ใช้ฉลากโภชนาการเดียวแต่รวมข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารทั้งหมดไว้เป็นคอลัมน์แยกกันสำหรับแต่ละอย่าง) หากผลิตภัณฑ์หลายชิ้นนั้นมีธรรมชาติที่คล้ายคลึงกัน (เช่น ช็อกโกแลตที่มีหลายรส) แล้ว สารอาหารที่แตกต่างกันนั้นจะมีความคล้ายคลึงกัน และมีแนวโน้มว่าบุคคลหนึ่งจะรับประทานผลิตภัณฑ์หลายชิ้นนั้นในคราวเดียว ดังนั้นฉลากที่ใช้จึงจะต้องมีข้อมูลโภชนาการหนึ่งชุดที่อยู่บนพื้นฐาน ของน้ำหนักโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์หลายชิ้นนั้นรวมกันทั้งหมด สำหรับอาหารที่บรรจุในหีบห่อขนาดเล็กใส่ไว้ในหีบห่อที่ใหญ่กว่านั้น หาก หีบห่อที่ใหญ่กว่านั้นได้จำหน่ายแล้ว ก็ควรใช้ฉลากให้สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับ ว่าด้วยอาหารและยา (ส่วนประกอบและการใช้ฉลาก)
• พลังงานจะหาได้จากผลรวมของพลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรตที่มี โปรตีน ไขมันทั้งหมด เอธานอลและกรดอินทรีย์ คูณกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถคำนวณได้ โดยใช้สูตรดังนี้ (น้ำหนักเป็นกรัม [4 x คาร์โบไฮเดรตที่มี + 4 x โปรตีน + 9 x ไขมันทั้งหมด + 7 x เอธานอล (แอลกอฮอล์) + 3 x กรดอินทรีย์] กิโลแคลอรี่ในอาหาร 100 ก.)
• ในการคำนวณพลังงานนั้นจะต้องรวมพลังงานที่ได้จากเอธานอลเข้าไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า อาหารทั้งหมดจะมีเอธานอลเสมอไป เมื่อเอธานอลเป็นส่วนที่ให้พลังงานสำคัญแล้ว ระดับของมันจะต้องนำมาพิจารณาและรวมเข้าไว้ในการคำนวณพลังงานด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลูกกวาด และขนมหวานที่มีแอลกอฮอล์ การวัดเอธานอลโดยใช้วิธีการ gas chromatographic นี้เป็นวิธีที่เรียบง่าย ใช้ได้และให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ
• สำหรับ “กรดอินทรีย์” นี้ คำแนะนำของ Codex ไม่ได้ให้คำจำกัดความไว้ ประเภทของอาหารที่แตกต่างกันจะมีกรดอินทรีย์ที่แตกต่างกันด้วย สำหรับ “นม” “เนื้อ” “ผักและผลไม้” นั้น กรดอินทรีย์ที่สำคัญได้แก่ กรดไซตริก กรดแลคติก กรดมาลิคและกรดไซตริกตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อาหารบรรจุเสร็จบางประเภทก็มีปริมาณของกรดอินทรีย์มากเช่น ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากผลไม้ (รวมถึงน้ำผลไม้) ผักบางชนิด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักที่ดองไว้ในกรดอะซิติก) และผลิตภัณฑ์อื่นๆ (รวมถึงน้ำส้มสายชู น้ำสลัด น้ำอัดลมและโยเกิร์ต) โดยวิธีที่แนะนำให้ใช้คือวิธีการ liquid chromatographic ที่คล้ายคลึงกับวิธีการของ AOAC 986.13 ที่ใช้ในการ ตรวจสอบปริมาณของกรดอินทรีย์ที่แตกต่างกัน
• ตาม “คำแนะนำว่าด้วยการใช้ฉลากโภชนาการ CAC/GL 2-1985 (Rev. 1 – 1993, ปรับปรุงแก้ไข 2 – 2003) ของ Codex และข้อกำหนดในการใช้ฉลาก โภชนาการของจีนแผ่นดินใหญ่นั้น ไม่มีพลังงานใดที่ระบุไว้สำหรับแอลกอฮอล์ที่เป็น น้ำตาลเลย เนื่องจากปริมาณของแอลกอฮอล์ที่เป็นน้ำตาลในอาหารบรรจุเสร็จนี้จะมีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตรวมอยู่ด้วย หากสามารถคำนวณได้โดยใช้ความแตกต่าง แล้ว ปัจจัยทางพลังงานสำหรับคาร์โบไฮเดรตนี้จะนำมาประยุกต์ใช้กับแอลกอฮอล์ที่เป็นน้ำตาลได้ด้วย
• ปริมาณโปรตีนอาจตรวจสอบได้บนพื้นฐานของปริมาณไนโตรเจนในตัวอย่างอาหารขณะที่ปริมาณไนโตรเจนอาจตรวจสอบได้โดยใช้วิธี Kjeldahl หรือวิธีการสันดาป CFS ได้เปรียบเทียบวิธีการทั้ง 2 วิธีนี้แล้วพบว่าให้ผลลัพธ์ในเชิงที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ หากไม่มีปัจจัยของไนโตรเจนที่แตกต่างกันในมาตรฐานของ Codex หรือในวิธีการวิเคราะห์ของ Codex สำหรับอาหารนั้นแล้วปริมาณไนโตรเจนจะคูณด้วย 6.25 เพื่อให้ถึงปริมาณโปรตีน สำหรับอาหารดิบที่เลือกมานั้น ผลคูณของไนโตรเจนจะแตกต่างกันตั้งแต่ 6.38 (แป้งหางนมหรือนม) ไปจนถึง 5.70 (ข้าวฟ่างหรือถั่วเหลือง) เนื่องด้วยโปรตีนนั้นเกิดขึ้นจากห่วงโซ่ของกรดอะมิโนร่วมด้วยพันธะเปปไทด์ มันจึง สามารถสลายตัวโดยการเติมน้ำและสามารถวัดได้ จากนั้นผลรวมของกรดอะมิโนจะ แสดงออกมาเป็นโปรตีนในอาหาร วิธีการนี้มีประโยชน์ต่อการขจัดการใช้ปัจจัยของ ไนโตรเจนแต่มีราคาแพงกว่า
• ไขมันอิ่มตัวอ้างอิงถึงกรดไขมันทั้งหมดที่ไม่มีพันธะคู่ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นผลรวมของกรดไขมันอิ่มตัว 13 ชนิดซึ่งรวมถึง C4: 0, C6: 0, C8: 0, C10: 0, C12: 0, C14: 0, C15: 0, C16: 0, C17: 0, C18: 0, C20: 0, C22: 0 และ C24: 0
• ไขมันชนิดทรานส์คือผลรวมของกรดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหมดที่มีพันธะคู่ ทรานส์แบบไม่รวมกันอย่างน้อย 1 คู่ นั่นหมายถึง isomers ทางเรขาคณิตของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนที่ไม่รวมกันซึ่งถูกขัดโดยกลุ่มเมธิลีน พันธะคู่คาร์บอน-คาร์บอนในการประกอบขึ้นเป็นไขมันชนิดทรานส์อย่างน้อย 1 คู่และมักอ้างอิงถึง ผลรวมของ C14: 1T (9-trans), C16: 1T (9-trans), C18: 1T (ทั้งหมด), C18: 2TT (9, 12-trans), C18: 2T (9-cis, 12-trans), C18: 2T (9-trans, 12-cis), C20: 1T (11-trans) และ C22: 1T (13-trans)
• ตามระเบียบข้อบังคับฉบับปรับปรุงแก้ไขนั้น วิธีการที่เหมาะสมวิธีใดก็ตามของ AOAC สามารถนำมาใช้ได้ โดยทั่วไปแล้ว CFS จะนำวิธีการของ AOAC 985.29 และ/หรือ 2001.03 มาใช้ในการตรวจวัดปริมาณใยอาหารในอาหารบรรจุเสร็จ หากจำเป็นแล้ว CFS จะกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้ขายจัดเตรียมวิธีการที่ใช้ในการติดตามผลไว้ด้วย
• วิธีการของ AOAC 985.29 หรือ 991.43 จะใช้ในการตรวจสอบใยอาหาร ทั้งหมดโดยเป็นผลรวมของใยอาหารที่ไม่สามารถละลายได้ (IDF) กับใยอาหาร ที่ละลายได้ (SDF) ที่มีอยู่ในอาหาร ปริมาณใยอาหารทั้งหมดนี้เป็นผลรวมของ IDF และ SDF ที่ได้จากวิธีการของ AOAC 985.29 อย่างไรก็ตาม วิธีการของ AOAC 2001.03 เป็นการตรวจสอบ IDF ที่มี high molecule weight (HMW) SDF และ low molecule weight resistant maltodextrin (LMWRMD) ในอาหาร สำหรับวิธีการของ AOAC 2001.03 นี้ ใยอาหารทั้งหมดจะระบุไว้เป็นผลรวมของ IDF, HMWSDF กับ LMWRMD ดังนั้นผลรวมของ ใยอาหารทั้งหมดที่ได้จากวิธีการของ AOAC 985.29 และ 2001.03 จึงงอาจแตกต่าง กันได้ ความแตกต่างนี้จะขึ้นอยู่กับว่าตัวอย่างอาหารนั้นมี resistant maltodextrin หรือโพลีเมอร์ของคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ ที่ให้ผลการทดสอบเป็นบวกอยู่หรือไม่
• ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่มีในอาหารได้รับการคำนวณมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยใช้วิธีการที่แตกต่างกันมากกว่าจะวิเคราะห์โดยตรง ภายใต้วิธีการนี้ส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องในอาหาร (โปรตีน ไขมัน น้ำ แอลกอฮอล์ ash ใยอาหาร) จะได้รับการ ตรวจสอบแยกกันเป็นส่วนๆไป โดยผลรวมจะหักออกจากน้ำหนักทั้งหมดของอาหารนั้น ทั้งนี้จะอ้างอิงกับคาร์โบไฮเดรตที่มีโดยใช้สูตรการคำนวณดังนี้ 100 – (น้ำหนักเป็นกรัม [โปรตีน + ไขมัน + น้ำ + ash + แอลกอฮอล์ (เอธานอล) + ใยอาหาร] ในอาหาร 100 ก.)
• คาร์โบไฮเดรตทั้งหมดอ้างอิงถึงผลรวมของคาร์โบไฮเดรตที่มีกับใยอาหาร
• หากในอาหารบรรจุเสร็จมีส่วนประกอบที่ไม่สามารถย่อยได้แล้ว การคำนวณหาคาร์โบไฮเดรตที่มีโดยใช้ความแตกต่างจะยังคงนำมาใช้กับปัจจัยเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เป็น ส่วนประกอบที่ไม่สามารถย่อยได้ หรือมิเช่นนั้นแล้ว ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่มีก็อาจคำนวณได้จากผลรวมของปริมาณของแป้งและน้ำตาลที่มีทั้งหมด และหากถูกเติมลงไปในอาหารแล้ว ต้องคำนวณ oligosaccharides, glycogen และ maltodextrins ด้วย
• แอลกอฮอล์ที่เป็นน้ำตาล (หรือที่รู้จักกันในชื่อของ polyol) นี้เป็นรูปแบบหนึ่ง ของคาร์โบไฮเดรตที่เติมไฮโดรเจนเข้าไป ซึ่งกลุ่มของ carbonyl (aldehyde หรือ ketone) ได้ถูกลดลงเป็นกลุ่มของ hydroxyl หลักหรือรอง โดยทั่วไปแล้ว แอลกอฮอล์ที่เป็นน้ำตาล จะถูกจำแนกประเภทไว้เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต
• ตามที่ใช้กันในระดับสากลนั้น ฟรุคโตส กาแลคโตส กลูโคส แลคโตส มัลโทส และซูโครส จะใช้เป็นปัจจัยในการทดสอบทั่วไป
• น้ำตาลนี้หมายรวมถึง monosaccharides และ disaccharides ทั้งหมดที่มีอยู่ในอาหาร หากตัวอย่างอาหารนั้นมี reducing sugar รูปแบบเดี่ยวแล้ว ผลการทดสอบ reducing sugar จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้จากการ วิเคราะห์โดยวิธี chromatography สำหรับของเหลว อย่างไรก็ตาม หากตัวอย่าง อาหารนั้นมีน้ำตาลมากกว่า 1 รูปแบบแล้วผลการทดสอบ reducing sugar จะไม่ แสดงให้เห็นถึงปริมาณน้ำตาลในตัวอย่างอาหารนั้นได้อย่างแท้จริงตามที่กฎหมายระบุไว้
• Carotenoids ที่มีโปรวิตามินเอนี้รวมถึง α - แคโรทีน, β– แคโรทีน, γ – แคโรทีนและ β– cryptoxanthin ตามที่ปรากฏในคำแนะนำของ Codex ซึ่งมีปัจจัยในการแปลงเป็น 6 ไมโครกรัม β– แคโรทีนถึง 1 ไมโครกรัม Retinol Equivalent (RE) นั้น ในระเบียบข้อบังคับฉบับปรับปรุงแก้ไขจะมีเพียง เบต้า–แคโรทีนอยู่ในบรรดา carotenoids เท่านั้นในการคำนวณ RE สำหรับวิตามินเอและใช้มันกับปัจจัยในการแปลง เดียวกันนี้ BS EN 12823:2000 ส่วนที่ 1 และ 2 เป็นวิธี การที่เหมาะสมในการตรวจ วัดเรตินอลและ β– แคโรทีนในอาหารตามลำดับ
• รูปแบบของวิตามินดีที่พบในอาหารมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ cholecalciferol (D3) และ ergocalciferol (D2) โดยวิตามิน D3 จะพบแพร่หลายมากกว่า (เช่น ในน้ำมันตับปลา เนื้อเยื่อของปลาที่มีไขมันจำนวนมาก ไข่ เนยแข็งและครีมชีส) ส่วน D2 นี้จะพบในปริมาณต่ำกว่าในน้ำมันตับปลาและเห็ด เนื้อบางชนิดมี 25-hydroxy- cholecalciferol ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของวิตามินดี ดังนั้นจึงถือว่าเป็นวิตามินดีด้วยเช่นกัน โดย BS EN 12821:2000 อาจนำมาใช้ในการตรวจวัดวิตามินดีในอาหารได้
• ตามธรรมชาตินั้น วิตามินอีจะประกอบด้วยสาร 8 ชนิดโดยอยู่บน พื้นฐานของ tocopherol และ tocotrienol ปฏิกิริยาของวิตามินที่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับ α – tocopherol นี้ ถือเป็นโครงสร้างหลัก ดังนั้นวิธีการวิเคราะห์นี้จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ตรวจวัดวิตามินที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด โดย BS EN 12822:2000 จะเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการตรวจวัด tocopherol ในอาหาร ตามข้อมูลของ FAO นั้น α – tocopherol จะเทียบเท่ากับอาหารผสมซึ่งมีรูปแบบตามธรรมชาติของวิตามินอีที่อาจประเมินค่าได้จากผลรวมของจำนวนมิลลิกรัมของ อัลฟ่า– tocopherol, เบต้า – tocopherol คูณด้วย 0.5 แกมม่า– tocopherol คูณด้วย 0.1 เดลต้า– tocopherol คูณด้วย 0.01 และ อัลฟ่า- tocotrienol คูณด้วย 0.3
• “ไนอะซิน” (วิตามิน B3) จะอ้างอิงถึง nicotinamide, กรด nicotinic และอนุพันธ์ที่มีปฏิกิริยาทางชีววิทยาของ nicotinamide
• เนื่องจากกรดโฟลิกที่ได้จากอาหารมีอยู่ร้อยละ 85 แต่โฟเลตในอาหารมีอยู่เพียงประมาณร้อยละ 50 เท่านั้น ทำให้กรดโฟลิกที่ได้จากอาหารจะเป็น 85/50 (เช่น 1.71) เท่า ด้วยเหตุนี้ในการคำนวณกรดโฟลิกที่เทียบเท่ากับอาหารผสมที่มีรูปแบบของกรดโฟลิกที่เป็นธรรมชาติและที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยสามารถประเมินค่าได้จากผลรวมของจำนวนไมโครกรัมของโฟเลตในอาหารและกรดโฟลิกที่ได้จากการสังเคราะห์คูณด้วย 1.7 ในหน่วยของ µg DFE
อาหารในบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อภายใต้กฎหมายอาหาร ยา แลเครื่องสำอางของสหรัฐอเมริกา ซึ่งติดฉลากตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2549 ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้
ใช่ กฎหมายระบุว่า - ในกรณีของถั่วประเภท Tree nut ต้องมีการสำแดงระบุประเภทเฉพาะของถั่ว เชอัลมอนด์ พีแคน หรือ วอลนัท - ในกรณีของปลา ต้องมีการสำแดง species เช่น ปลาอินทรี ปลาทูน่า ปลาค็อด - ในกรณีของสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือก ต้องมีการสำแดง species เช่น ปู ล็อบสเตอร์ กุ้ง
สภาได้กำหนดอาหาร 8 กลุ่ม เป็นอาหารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญภูมิแพ้จากอาหารร้อยละ 90 มีสาเหตุมาจากอาหารเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะมีอาหารชนิดอื่นที่อาจมีความอ่อนไหวและก่อภูมิแพ้กับบางบุคคล แต่ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและการติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้ พ.ศ.2547 ไม่ได้กำหนดให้ติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้นอกเหนือจากอาหาร 8 กลุ่ม ดังกล่าว
อาหารในบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อที่วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาภายใต้กฎหมายอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะมาจากโรงงานในประเทศหรือนำเข้า ยกเว้น ผลิตภัณฑ์เนื้อและสัตว์ปีกและไข่
ไม่ต้อง
ใช้แทนกันได้
อาหารในบรรจุภัณฑ์หรืออาหารหีบห่อที่มีการใช้ถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ เช่น ซอสถั่วเหลือง เต้าหู้ ควรใช้คำว่า soybeans เพื่อระบุส่วนประกอบอย่างเหมาะสม เช่น soy sauce (water,wheat,soybeans,salt)
ไม่ใช่ ถ้ามีการใช้คำว่า contains ในฉลาก จะต้องระบุชื่ออาหารก่อภูมิแพ้ทั้งหมดที่มีในส่วนประกอบ
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและการติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้ พ.ศ.2547 ไม่ได้บังคับให้มีการติดฉลากระบุการติดฉลากแนะนำความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนอาหารก่อภูมิแพ้ ซึ่งมักจะเป็นที่พอใจของผู้บริโภค USFDA แนะนำว่าสถานประกอบการจะต้องเน้นระบบ cGMPs (current Good Manufacturing Practices) ไม่สามารถจะใช้คำว่า may contain [ชื่อ allergen] ทดแทนการใช้ระบบ cGMPs และการติดฉลากแนะนำ เช่น may contain [ชื่อ allergen] นี้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้แต่ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงและไม่สร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค
USFDA ไม่มีการกำหนดระดับที่ผ่อนปรนหรือระดับที่ยอมให้มีอาหารก่อภูมิแพ้ได้โดยไม่ต้องติดฉลาก อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี USFDA จะต้องพิจารณาระดับที่จะผ่อนปรนหรือระดับที่ยอมรับให้มีอาหารก่อภูมิแพ้ได้โดยไม่ต้องติดฉลากในกรณีที่มีการอุทธรณ์หรือข้อเสนอให้พิจารณาส่วนประกอบ ingredints ที่จะขอยกเว้นจากการติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้นี้
กฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีประชากรประมาณ 2 % ของผู้ใหญ่และ 5 % ของเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นภูมิแพ้อาหารบางชนิด ซึ่งในแต่ละปีมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาประมาณ 30,000 คน เสียชีวิตปีละประมาณ 150 คน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา แต่ป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ตนเองมีภูมิแพ้ชนิดนั้นๆ
กลุ่มอาหารที่เป็นต้นเหตุของการก่อภูมิแพ้อาหาร 90 % ที่สำคัญ 8 กลุ่ม ได้แก่ นม ไข่ สัตว์น้ำ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือก เช่น กุ้ง กั้ง ปู ถั่วประเภท tree nuts เช่น ถั่วลิสง แป้งข้าวสาลี พีแคนนัท หรือวอลนัท ถั่วอัลมอนด์และถั่วเหลือง
Fish and shellfish , Fish and crustacean shellfish ภายใต้ Food allergen and COOL ครอบคลุมถึงสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็ม
ระเบียบของสหรัฐฯระบุไว้ว่าให้ใช้ contain ชื่อ food allergen ตามด้วยชื่อทางการค้า(ชื่อสามัญ) แต่ถ้าชื่อfood allergen กับชื่อสามัญเหมือนกัน จึงค่อยระบุ species สำหรับ fish and crustacean shellfish (ซึ่ง species จะเป็นชื่อลาตินเป็นส่วนใหญ่) และชนิดเฉพาะของ tree nut ว่าเป็น almond,pea can,walnut - การติดฉลากไม่ได้ใช้ฉลากระบุคำว่า food alergen ตรงๆ แต่ต้องสำแดงชื่อสินค้าที่เป็นอาหารก่อภูมิแพ้ให้ผู้บริโภครู้
ไข่เป็นรายการอาหารก่อภูมิแพ้ทั้งของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ดังนั้นต้องติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้หากส่งออกไปประเทศทั้งสอง
ครีมเทียมถ้าไม่มีส่วนประกอบของ milk ไม่ถือเป็น food allergen
ต้องติดฉลาก food allergen เช่น ระบุว่า contain wheat bread เป็นต้น (สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย)
ควรระบุข้อความตามที่ระเบียบ Food Allergen เพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่ละฉบับ
ในกรณีที่สินค้านำเข้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกกักกันเนื่องจาก Misbranding due to undeclared Allergen
ไม่มี เนื่องจากถือว่าจำนวนของโปรตีนก่อภูมิแพ้ถึงแม้จจะเป็นจำนวนน้อยก็สามารถที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ในผู้บริโภคได้
ในปัจจุบันไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศใดๆที่กำหนดเรื่องการใช้ข้อความคำเตือนเรื่องอาหารก่อภูมิแพ้ในฉลากอาหาร ในทางการค้าเรามีแนวโน้มที่จะยอมรับการใช้ข้อความเตือนแต่ต้องระบุชนิดสารก่อภูมิแพ้เฉพาะ ไม่ใช่คำเตือนกว้างๆ ข้อความควรจะปรากฎในตอนท้ายหรือในระหว่างรายชื่อส่วนประกอบ ถ้าไม่มีการใช้สารก่อภูมิแพ้นั้นในส่วนประกอบอาหารแต่มีการผลิตในสายการผลิตที่ร่วมกับการผลิตที่มีการใช้ผลิตภณฑ์ที่มีสารก่อภูมิแพ้หรือในโรงงานเดียวกับอาหารก่อภูมิแพ้ คำกล่าวเตือนควรจะเป็นดังนี้ "May contain traces of (NAME OF ALLERGEN)" ; "Contains traces of (NAME OF ALLERGEN)" ; or "Produced in a factory where (NAME OF ALLERGEN)is also handled" อย่างไรก็ตาม การใช้ข้อความเตือนนี้ไม่สามารถจะเน้นมากเกินไปและต้องไม่ใช้เป็นหนทางในการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในการป้องกันไว้ก่อนอย่างสมเหตุสมผลในการป้องกันการปนเปื้อนข้าม
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้รับการยกเว้นออกจากระเบียบการติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้ ถ้าน้ำมันถั่วลิสงบริษัทเป็นผลิตภัณฑ์เดี่ยวและชื่อผลิตภัณฑ์ก็ได้มีการระบุชัดเจนว่าถั่วลิสงแล้วถือว่า สอดคล้องกับระเบียบนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม หากน้ำมันถั่วลิสงมีส่วนประกอบมากกว่า 1 ชนิด นอกเหนือจากน้ำมันถั่วลิสงแล้ว การระบุชื่ออาหารก่อภูมิแพ้ต้องเป็นไปตามระเบียบ
ถึงแม้ประเทศเหล่านี้จะไม่มีระบบการจัดการเรื่องอาหารก่อภูมิแพ้ แต่โรงงานควรจะมีความรู้เรื่องสารก่อภูมิแพ้เมื่อมีการค้าขายกับต่างประเทศ
การมีระดับ detection limit ที่ต่ำโดยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดจะนำมาใช้ในการตรวจสอบตัวอย่างอาหารการอ้างอิงขณะนี้ใช้จากที่มีใน test kit เชิงพาณิชย์
เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้แม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาหารภูมิแพ้แก่ผู้แพ้อาหารชนิดนั้นๆได้ ดังนั้น Processing aids ทุกชนิดที่มีสารก่อภูมิแพ้จึงต้องระบุไว้ในรายชื่อส่วนประกอบอาหารและไม่ได้รับการยกเว้นใดๆจากการติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้
การตรวจพบโดย ELISA ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ ppm. ยังไม่มีการตรวจพบในระดับ ppb.
เป็นความรับผิดชอบของพ่อค้าหรือผู้นำเข้าในการรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากโรงงาน/ผู้ประกอบการเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้และวัตถุเจือปนอาหารที่มีอยู่ในอาหาร
ตามกฎหมายของฮ่องกง กำหนดไว้ว่า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 1.2 % แต่น้อยกว่า 10 % จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องติดฉลากส่วนประกอบ ดังนั้น จึงไม่ต้องติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้ แต่หากรายชื่อส่วนประกอบเมื่อใด ก็จะต้องติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้เมื่อนั้น