ความสำคัญ
ปัจจุบันเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรต้องการเข้าสู่มาตรฐานเป็นจำนวนมาก แต่เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้มีไม่เพียงพอ และไม่คลอบคลุมพื้นที่ ทำให้มีข้อจำกัดในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรไม่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่ทั่วถึง มกอช. จึงเห็นความจำเป็นในการสร้างองค์ความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรในขอบข่ายพืช/ประมง/ปศุสัตว์/ข้าว และพัฒนาผู้สอนของสถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ระดับอาชีวศึกษา (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี) รวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ให้สามารถพัฒนาไปเป็นวิทยากรตัวคูณทางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรในชุมชนหรือในแต่ละพื้นที่ให้เป็นตัวแทนในการถ่ายทอดความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนให้มีการนำมาตรฐานเข้าสู่ในชุมชน ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน โดย มกอช. จะจัดอบรมวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) โดยผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่ รวมถึงมีทักษะในการถ่ายทอด สื่อสาร และให้คำแนะนำด้านมาตรฐานแก่ผู้ที่สนใจ เช่น นิสิต นักศึกษา เกษตรกร แล้วรายงานผลการสอนให้ มกอช. ทราบ เพื่อเสนอคณะกรรมการประเมินความสามารถและทักษะการเป็นวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) และขึ้นทะเบียนเป็นวิทยากรตัวคูณที่ได้รับรองความสามารถจาก มกอช. ต่อไป
หลักเกณฑ์เงื่อนไข/คุณสมบัติการเป็นวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร ดังนี้
คุณสมบัติทั่วไป
1. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี นับตั้งแต่วันรับสมัคร
2. เป็นอาจารย์ผู้สอนของสถานศึกษาภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร
3. สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ด้านการเกษตร/ขอบข่ายที่เกี่ยวข้อง
4. มีประสบการณ์ทำงาน/ประสบการณ์การสอนอย่างน้อย 2 ปี ด้านเกษตรที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายที่สนใจเป็นวิทยากร เช่น แนบเอกสารการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายดังกล่าว
5. ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร (TOT) ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พร้อมแนบเอกสาร/หลักสูตรการเข้าร่วมฝึกอบรม
6. มีความสามารถในการสื่อสาร โดยเฉพาะ “ภาษาใช้งาน” ซึ่งหมายถึงภาษาท้องถิ่นหรือภาษาที่ใช้ในการทำงาน
7. มีความสนใจการเป็นวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร
หลักเกณฑ์เงื่อนไขของการเป็นวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร
1. ได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร (TOT) ตามขอบข่ายที่สนใจเป็นวิทยากร จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เช่น
ขอบข่ายการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001)/เกษตรอินทรีย์ (มกษ.9000) หรือหลักสูตรเทียบเท่าจากมกอช. เป็นต้น
2. ส่งรายงานผลให้แก่ มกอช. ดังนี้
- สื่อการนำเสนอ (Power Point) มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ในหัวข้อมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ที่ท่านเป็นวิทยากร (ผู้สอน)
- เป็นวิทยากรอบรมในเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ความยาวไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง
- ส่งหลักฐานรูปภาพ จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 รูป/วีดีโอการฝึกอบรม เพื่อใช้ในการประเมินความสามารถและทักษะการเป็นวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร
- จำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่า 15 คน (สามารถสะสมได้)
- ส่งผลการสอบของผู้เรียนผ่านไม่น้อยกว่า 70% (โดยผู้เรียนจะต้องมีการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) และแบบทดสอบต้องออกแบบการสอบให้เหมาะสมกับประเภทผู้เรียน เช่น เกษตรกร/นักศึกษา)
- ส่งรูปแบบข้อสอบก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test)
- ส่งแบบประเมินความพึงพอใจในการสอน (บฟ 01) ที่ มกอช. จัดทำขึ้น หรือหากมีแบบฟอร์มของหน่วยงานให้ส่งแบบฟอร์มการประเมินให้ มกอช. ด้วย
3. มกอช. จะรวบรวมรายชื่อ และจัดการประเมินความสามารถและทักษะการเป็นวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) โดยคณะกรรมการฯ ของมกอช.
4. ผู้ที่ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการประเมินความสามารถและทักษะการเป็นวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ที่ได้รับรองความสามารถจาก มกอช. ผ่านทางเว็บไซต์ของ มกอช.
วิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2564)
ลำดับ | ชื่อ-นามสกุล | เลขที่ | หน่วยงาน | ขอบข่าย | File |
1 |
นางกิริยา สังข์ทองวิเศษ |
TOT66-9001-001 |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
GAP พืชอาหาร | File |
2 | นางปณรัตน์ ผาดี | TOT66-9001-002 | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | GAP พืชอาหาร | File |
3 | นายสาธิต บัวขาว | TOT66-9001-003 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย |
GAP พืชอาหาร | File |
4 | นางศิริโสภา อินขะ วรรณวงศ์ | TOT66-9001-004 | มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ |
GAP พืชอาหาร | File |
วิทยากรตัวคูณด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เกษตรอินทรีย์: การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (มกษ.9000-2564)
ลำดับ | ชื่อ-นามสกุล | เลขที่ | หน่วยงาน | ขอบข่าย | File |
1 |
นางสาวเกษสุดา เดชภิมล |
TOT66-9000-001 |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
เกษตรอินทรีย์ | File |
2 | นางสาววิลาวรรณ ดรวิชา | TOT66-9000-002 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | เกษตรอินทรีย์ | |
3 | นางกิริยา สังข์ทองวิเศษ | TOT66-9000-003 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | เกษตรอินทรีย์ | |
4 | นางละออทิพย์ นะโลกา | TOT66-9000-004 | มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ |
เกษตรอินทรีย์ |
ใบสมัคร [ ดาวน์โหลดใบสมัคร ]